กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9145
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นรรัตน์ วัฒนมงคล | |
dc.contributor.advisor | ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์ | |
dc.contributor.author | ตรัยย์เดช ชุมเดช | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T09:02:10Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T09:02:10Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9145 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหมวกแสงสีฟ้าสำหรับกระตุ้นการตื่นตัวของผู้มีอาการง่วงนอน 2) ศึกษาผลชองระยะเวลาได้รับแสงสีฟ้าต่อการตื่นตัวร่วมกับคลื่นไฟฟ้าสมอง และ 3) วิเคราะห์สมการระหว่างระยะเวลารับแสงสีฟ้ากับคลื่นไฟฟ้าสมองกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพาปีการศึกษา 2562 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย มาตรวัดระดับความง่วง Karolinska Sleepiness Scale (KSS) และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง Muse วิเคราะห์สถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยปรากฏว่า การพัฒนาหมวกแสงสีฟ้าสำหรับกระตุ้นการตื่นตัวต้องใช้หลอดแอลอีดี แสงสีฟ้า ขนาด 5 มิลลิเมตร ความยาวคลื่น 470 นาโนเมตร จำนวน 8 หลอด ติดตั้งหลอดแอลอีดี บริเวณด้านหน้าของหมวกโดยมีระยะห่างจากสายตา 5 เซนติเมตร ให้ความสว่างแสง 40 ลักซ์ อุปกรณ์มีแหล่งจ่ายไฟใช้แบตเตอรี่ 9 โวลต์ ผลด้านพฤติกรรมปรากฏว่า กลุ่มที่ได้รับแสงสีฟ้าระยะเวลาต่างกันจะมีการตื่นตัวที่แตกต่างกัน (ประเมินจาก KSS) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลด้านคลื่นไฟฟ้าสมองพบความแตกต่างความหนาแน่นสเปกตรัมกำลัง (PSD) ของคลื่นไฟฟ้าสมองในกลุ่มที่ได้รับแสงสีฟ้า ระยะเวลาต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลเหล่านี้พบได้ในคลื่นแอลฟ่าและคลื่นเบต้าที่ตำแหน่งขั้วบันทึก AF7 และ AF8 และอัตราส่วนคลื่นเบต้าต่อคลื่นแอลฟ่าที่ตำแหน่งขั้วบันทึก AF7 การวิเคราะห์สมการระหว่างระยะเวลารับแสงสีฟ้ากับคลื่นไฟฟ้าสมองปรากฏว่า Y = -0.005X2 + 0.023X+ 0.176 (R 2 = 0.825) เป็นสมการที่มีเส้นโค้งเหมาะสมที่สุดซึ่งได้มาจากคลื่นเบต้าที่ตำแหน่งขั้วบันทึก AF7 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.subject | การกระตุ้นประสาทสัมผัส | |
dc.subject | คลื่นไฟฟ้า | |
dc.title | ระยะเวลาการให้แสงสีฟ้าที่เหมาะสำหรับการกระตุ้นการตื่นตัวของผู้มีอาการง่วงนอน : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง | |
dc.title.alternative | Optiml blue light durtion for ctivting lertness of drowsy people: n electroencephlogrm study | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were 1) to develop a blue-light cap for alertness stimulation in people with drowsiness, 2) to study the effects of blue light exposure durations on alertness in conjunction with electroencephalogram and 3) to analyze the equations between blue light duration and electroencephalogram. Participants were 80 undergraduate students from Burapha University, academic year 2019. The research instruments consisted of Karolinska Sleepiness Scale (KSS) and Muse electroencephalograph. Two-way ANOVA was used for analyzing the data. The results showed that the development of a blue-light cap for alertness stimulation required 8 blue light LEDs of 5 millimeters, 470 nm wavelength. LEDs were installed in front of the cap at a distance of 5 cm from the eyes. They provided a brightness of 40 lux. The device had a power supply that used 9 volt batteries. Behavioral results showed that groups exposed to blue light at different durations had different alertness levels (evaluated by KSS) with statistical significance at the .05 level. Electroencephalogram results found differences of EEG power spectral density (PSD) in groups exposed to blue light at different durations with statistical significance at the .05 level. These results were found in alpha and beta waves at the AF7 and AF8 electrode sites, and beta/alpha ratio at the AF7 electrode site. The determination of the equation between the blue light duration and electroencephalogram showed that Y = -0.005X2 + 0.023X + 0.176 was the best fitting curve (with R 2 = 0.825), obtained from beta waves at the AF7 electrode site. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57810199.pdf | 4.77 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น