กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9143
ชื่อเรื่อง: | การสร้างแบบทดสอบความรู้เชิงสหวิทยาการตามแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Creting test of interdisciplinry knowledge bsed on the 21st century lerning concept of upper secondry school students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุทธนา จันทะขิน ปริญญา เรืองทิพย์ อวัสดา กิจสวน มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา การศึกษาขั้นมัธยม -- แบบทดสอบ แบบทดสอบ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบความรู้เชิงสหวิทยาการตามแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบความรู้เชิงสหวิทยาตามแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและเพื่อสร้างปกติวิสัยของคะแนนความรู้เชิงสหวิทยาการตามแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยทำการสำรวจกับนักเรียน จำนวน 1,032 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือการวิจัยเป็นแบบทดสอบความรู้เชิงสหวิทยาการตามแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม Lisrel 8.7 ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบทดสอบความรู้เชิงสหวิทยาการตามแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 5 ด้าน ข้อคำถามจำนวน 19 ข้อ ซึ่งได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโลก ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี ความรู้ด้านสุขภาพ และความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม มีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อมากกว่า .70 ทุกข้อ ค่าความเที่ยงทั้บฉบับ เท่ากับ .710 2. การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบความรู้เชิงสหวิทยาการตามแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทำการพิจารณาค่าน้ำหนักของตัวแปรแฝงทั้ง 5 ตัว จากค่าสัมประสิทธิ์คะแนนมาตรฐานของน้ำหนักปรากฏว่า ความรู้เกี่ยวกับโลก และ ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ และความรู้่เกี่ยวกับสุขภาพมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี ตามลำดับซึ่งมีความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอยู่ในเกณฑ์ดี 3. ปกติวิสัยแบบทดสอบความรู้เชิงสหวิทยาการตามแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำแนกเป็น 3 ระดับ คือ กลุ่มสูง มีช่วงสเตไนน์ อยู่ที่ช่วง 7-9 กลุ่มปานกลาง มีช่วงสเตไนน์ อยู่ที่ช่วง 4-6 และกลุ่มต่ำ มีช่วงสเตไนน์ อยู่ที่ช่วง 1-3 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9143 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
60910083.pdf | 5.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น