กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9142
ชื่อเรื่อง: การสงวนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย : เมรุลอยอยุธยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Reservtion of thi culturl hertitge: meru loi yutthy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทราวดี มากมี
กนก พานทอง
ปริญญา เรืองทิพย์
สถิร กิจเพ็ชร
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
เมรุ -- พระนครศรีอยุธยา
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- พระนครศรีอยุธยา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญา และการพัฒนารูปแบบการสงวนมรดกภูมิปัญญาเมรุลอยอยุธยาในด้านการปกป้องคุ้มครอง การเคารพ ความตระหนัก แนวทางความร่วมมือและการขอความช่วยเหลือ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้วิจัยฝังตัวอยู่ในพื้นที่จริงไม่ต่ำกว่า 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางทฤษฎีฐานรากเพื่อนำเสนอทฤษฎีในลักษณะเรื่องเล่าเชิงบรรยาย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 17 คน ตามเทคนิคเดลฟาย ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาเมรุลอยอยุธยาเกิดจากรูปแบบเมรุลอยชั่วคราวที่สร้างโดยพระสงฆ์ที่มีความรู้ทางช่างร่วมกับช่างฝีมือพื้นบ้านเพื่อใช้ในงานศพของบุคคลสำคัญ จนกลายเป็นต้นแบบของเมรุลอยอยุธยาที่มีการพัฒนาและสืบทอดจนถึงปัจจุบัน ก่อนปี พ.ศ. 2475 เป็นยุคที่การทำพิธีศพจะคำนึงถึงศักดินา สถานที่เผาศพชาวบ้านจะใช้กองฟอน เชิงตะกอน หรือเมรุปะรำ ปี พ.ศ. 2475-2520 ยุคผ่อนปรนศักดินา เกิดเมรุลอยอยุธยาทรงบุษบก ฐาน 2 ชั้น ตกแต่งด้วยแผงไม้ไผ่สาน ใช้เรือในการขนย้าย ใช้กับศพชาวบ้านและพระสงฆ์ ลวดลายเริ่มต้นใช้สีเขียน ประกอบด้วยสีแดง เหลือง น้ำเงิน ขาว มีฉัตร และพัดเป็นเครื่องตกแต่ง เป็นต้น และหลังปี พ.ศ. 2520 ถึงปัจจุบัน มีการสร้างรูปแบบและลักษณะที่หลากหลาย มักใช้กับงานศพพระสงฆ์ คหบดี ผู้มีฐานะทางสังคม และมีการใช้ไม้อัดแทนการใช้แผงไม้ไผ่สาน เมรุลอยอยุธยาเป็นภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย มีการสั่งสมและถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อชุมชน และชุมชนต่อชุมชน โดยผู้ถ่ายทอดจะมีความรู้ ประสบการณ์ ส่วนผู้รับถ่ายทอดเป็นผู้สนใจเรื่องเมรุลอยอยุธยาหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่ามรดกภูมิปัญญาเมรุลอยอยุธยาเป็นภูมิปัญญางานช่างฝีมือดั้งเดิมของคนรุ่นเก่า ควรค่าแก่การการสงวนมรดกภูมิปัญญาเมรุลอยอยุธยาทั้งในด้านการปกป้องคุ้มครอง ด้านการเคารพ ด้านความตระหนัก และด้านแนวทางความร่วมมือและการขอความช่วยเหลือ ภาครัฐโดยเฉพาะการปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเป็นแกนนำและให้การสนับสนุน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9142
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810035.pdf16.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น