กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/902
ชื่อเรื่อง: | การสกัดและการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากวัตถุดิบสารมัธยันต์และผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวกล้องไทย (Oryza sativa L.) . |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extraction and evaluation of antioxidant and phamacological activities of extracts from raw materials, intermediate and fermented vinegar product derived from unpolished Thai rice (Oryza satival L.). |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์ สมจิตต์ ปาละกาศ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | น้ำส้มสายชู แอนติออกซิแดนท์ สารสะกัดจากพืช อนุมูลอิสระ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณสมบัติการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางเภสัชของสารสกัดจากข้าวไทยของสารสกัดจากข้าวกล้องหอมมะลิแดง (Oryza sativa L.) ข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa var. glutinosa) สารมัธยันต์ หรือน้ำหมักและน้ำส้มสายชูหมักด้วยข้าวเหนียวดำ ในเบื้อต้นได้นำสารสกัดจากวัตถุดิบและน้ำหมักข้าวกล้องหอมมะลิแดง และข้าวเหนียวดำมาทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยใช้อนุมูล DPPH และอนุมูล ATBS+ พบว่า สารสกัดเอทานอลของน้ำแช่ข้าวกล้องหอมมะลิแดงและข้าวเหนียวดำ สามารถกำจัดอนุมูลทั้งสองชนิด ได้ดี แต่มีปริมาณสารต้านอนุมูล ABTS มีค่าสูงกว่าปริมาณสารต้านอนุมูล DPPH โดยน้ำแช่ข้าวเหนียวดำมีปริมาณสารต้านอนุมูล DPPH และอนุมูล ABTS + สูงที่สุดคิดเป็น 564.40+-53.07 และ 1369+-41.68 ไมโครโมลโทรลอกซ์ต่อกรัมของสารสกัดตามลำดับ ส่วนการทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากน้ำส้มสายชูหมักด้วยข้าวเหนียวดำโดยแบคทีเรียน้ำส้ม จำนวน 3 ชนิด พบว่า สารสกัดจากน้ำส้มสายชู A.aceti TISTR 1074 และ A. aceti TISTR 103 มีความสามารถในการกำจัดอนุมูล DPPH และอนุมูล ABTS+ ใกล้เคียงกัน เมื่อนำสารสกัดจากน้ำส้มสายชูหมักด้วย A . aceti ทั้ง 2 สายพันธุ์ที่เลี้ยงในแอลกอฮอล์เริ่มต้นต่างกัน มาทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากน้ำส้มสายชูหมักด้วย A.aceti TISTR 1074 และ A. aceti TISTR 103 ที่หมักด้วยแอลกอฮอล์เริ่มต้น 8 เปอร์เซ็นต์ มีความสามารถในการต้นอนุมูล DPPH และ ABTS+ สูงสุดตามลำดับ จากผลการทดสอบในนำสารสกัดเอทธานอลของน้ำแช่ข้าวและสารสกัดเอทิลอะซิเทตของน้ำหมักข้าวทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุมูล DPPH และ ABTS+ มาทดสอบฤทธิ์ในารยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับชนิด Chang cells และเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิด RM cells CL6 cells พบว่า สารสกัดเอทิลอะซิเทตของน้ำหมักข้าวเหนียวดำมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเวลลืมะเร็งสูงสุด แต่มีประสิทธิภาพไม่สูงนัก |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/902 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น