กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/901
ชื่อเรื่อง: | ลักษณะทางพันธุกรรมของปลาการ์ตูน (Amphiprion spp.) จากบริเวณหมู่เกาะแสมสาร: พันธุศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชูตา บุญภักดี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปลา - - พันธุศาสตร์ ปลา - - เชื้อพันธุ์ ปลาการ์ตูน สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของปลาการ์ตูนที่แพร่กระจายในบริเวณหมู่เกาะแสมสาร อ. สัตหีบ จ.ชลบุรี สำรวจพบจำนวน 2 ชนิด คือ ปลาการืตูนอานม้า (Amphiprion polymnus) และปลาการ์ตูนอินเดียนแดง (A. perideraion) เมื่อทพการศึกษาจำนวนโครโมโซมและคาริโอไทป์กับปลาการ์ตูนอานม้าโดยเตรียมโครโมโซมจากเหงือกและลำไส้แล้วย้อมด้วยสีจิมซา 10% พบว่าปลาการ์ตูนอานม้ามีจำนวนโครโมโซมดิพพลอยด์ (2n) เท่ากับ 48 ประกอบด้วยโครโมโซมแบบเมทาเซนตริก (metacentric) จำนวน 16 แท่ง โครโมโซมแบบสับเมตาเซนตริก (submetacentric) จำนวน 24 แท่ง และโครโมโซมแบบอะโครเซนตริก (acrocentric) จำนวน 8 แท่ง มีสูตรคาริไทป์เป็น 2n=48; 16m+24sm+Ost+8a ผลจากการศึกษาวิธีการสกัดดีเอ็นเอที่เหมาะสมจากซี่ครีบของปลาการ์ตูนอานม้าที่เก็บรักษาด้วยวิธีแช่แข็งและในเอทานอล 100% โดยเปรียบเทียวิธีการสกัดดีเอ็นเอ จำนวน 4 วิธีคือ 1) ชุดสกัดสำเร็จรูป GF-1 tissue DNA extraction kit, 2) PCR-ready genemic DNA, 3) Chloroform และ 4) Guanidine Thiocyanate พบว่าวิธี PCR-ready genomic DNA เป็นวิธีที่เหมาะสม ใช้เนื้อเยื่อปริมาณน้อย มีขั้นตอนการสกัดที่ใช้ระยะเวลาสั้น และไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป้นอันตราย ได้ดีเอ็นเอที่สามารถนำไปใช้เพิ่มจำนวนด้วยเทคนิคพีซีอาร์ในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ จึงเหมาะสมสำหรับการศึกษาที่ต้องใช้จำนวนตัวอย่างมาก ผลการศึกษาลักษณะความแปรผันทางพันธุกรรมภายในประชากรของปลาการ์ตูนทั้งสองชนิดด้วยเทคนิค PCR-RFLP โดยศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนบนไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอ (cytochrome b และ ND4/ND 5) และในนิวเคลียร์ดีเอ็นเอ (ITS1) พบว่าแต่ละยีนที่ศึกษามีความจำเพาะกับชนิดของปลาการ์ตูน คือในปลาการ์ตูนอานม้าพบความแตกต่างของรูปแบบดีเอ็นเอ PCR-RFLP เมื่อตรวจสอบบริเวณ ITS1 ของนิวเคลียร์ดีเอ็นเอ แต่ไม่พบความแตกต่างในยีนบนไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอทั้งจากบริเวณ ND4/ND5 และยีน cytochrome b แต่เมื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรของปลาการ์ตูนอินเดียนแดง พบความแตกต่างของรูปแบบ PCR-RFLP ทั้งในส่วนของยีน cytochrome b และบริเวณ ITS1 จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ITS1 ของนิวเคลียร์ดีเอ็นเอมีความเหมาะสมสำหรับการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรของปลาการ์ตูนทั้งสองชนิด |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/901 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น