กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8849
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปริญญา ทองสอน
dc.contributor.advisorรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
dc.contributor.authorพัชรียา นิวัตร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:25:43Z
dc.date.available2023-06-06T04:25:43Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8849
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และ 3) เพื่อศึกษาความสามารถ ในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ไทย หลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบ้านหนองยาง สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา และ 4) แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ไทย หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับสูง (X ̅ = 2.53, SD = .05)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectภูมิศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.titleการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
dc.title.alternativeDevelopment of geogrphy lerning chievement nd problem solving bility of grde 5thstudents through project bsed lerning
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were; 1) to study the learning achievement of Grade 5th students in Social Study, Religion and Culture Learning Area on “Thai Geography” by using Project-Based Learning, 2) to study the problem solving ability of Grade 5th students in Social Study, Religion and Culture Learning Area on “Thai Geography” before and after learning by using Project-Based Learning, and 3) to study the project development ability of the Grade 5th students in Social Study, Religion and Culture Learning Area on “Thai Geography” after learning by using Project-Based Learning. The sample consisted of Grade 5th students in Bannongyang School, Chachoengsao Primary Educational Service Area Office 2 in the first semester academic year 2019, selected by Cluster Random Sampling. The research instruments were; 1) Project-Based Learning lesson plans, 2) the learning achievement test in Social Study, Religion and Culture Learning Area on “Thai Geography”, 3) the problem solving ability test and, 4) the Project-Based Learning ability test. The statistics used were mean, standard deviation and t-test. The results of the study were: 1. Geography learning achievement in Social Study, Religion and Culture Learning Area on “Thai Geography”, posttest scores of the Grade 5th students was significantly higher than the pretest score at the .05 level. 2. The problem solving ability posttest score of the Grade 5th students was significantly higher than the pretest score at the .05 level. 3. The Project-Based Learning ability of Grade 5th students was at high levels (X ̅ = 2.53, SD = .05).
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910186.pdf2.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น