กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8843
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอาพันธ์ชนิต เจนจิต
dc.contributor.advisorสิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์
dc.contributor.authorมัสยา บัวผัน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:25:41Z
dc.date.available2023-06-06T04:25:41Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8843
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งได้แก่ 1) ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียน บ้านแหลมแท่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแหลมแท่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน โดย การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สมบัติทางกายภาพของวัสดุและสถานะของสสาร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.90 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 และ 4) แบบวัดเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.44 – 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบ One sample t-test และทดสอบค่าทีแบบ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม ร้อยละ 85.75 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความคิดสร้างสรรค์
dc.subjectความคิดสร้างสรรค์ -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม (STEAM) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดสร้างสรรค์และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
dc.title.alternativeThe effects of lerning mngement by using stem on chievement, cretive thinking nd ttitude of prthomsuks 4 students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to; 1) compare students’ learning achievement after learning through Conceptual STEAM with the 70 percent criterion, 2) compare students’ creative thinking skills before and after the learning activities through Conceptual STEAM and, 3) study the attitude of students after learning through the STEAM approach. The population and sample group in this research comprised; 1) population of 40 of Prathomsuksa 4 students in the Banlaemtan School, 2) the sample comprised of 20 of students from Prathomsuksa 4 at Banlaemtan School who were studying in the 1st semester of B.E. 2562 selected by cluster random sampling. The research tools included; 1) lesson plans of the STEAM approach physical properties of the material and status of matter, 2) learning achievement test, the degree of difficulty was between 0.25 – 0.80 and discrimination power was between 0.30 – 0.90, the reliability index was at 0.92. 3) creative thinking test, was reliability index of 0.71 and, 4) attitude toward learning activities through conceptual STEAM test, the discrimination power was between 0.44–0.83, the reliability index was at 0.91. The collected data were analyzed by mean, standard deviation, one sample t-test and paired t-test The research findings were summarized as follows: 1. Prathomsuksa 4 students’ learning achievement after learning through the STEAM approach was at 85.75 percent which was significantly higher than the set 70 percent with a statistical significance at the .05 level. 2. The creative thinking of Prathomsuksa 4 students after learning through the STEAM approach was higher than before learning with a statistical significance at the .05 level. 3. The attitude toward the learning activities through STEAM approach of Prathomsuksa 4 students were positive at the highest level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57912259.pdf3.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น