กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/884
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่อการรอดชีวิตของฟีคัลโคลิฟอร์มและฟีคัลสเตรปโตคอคไคในบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of physical environment on survival of Fecal Coliform and Fecal Streptococci in Bangpakong Estuary
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รตีวรรณ อ่อนรัศมี
ดนัย บวรเกียรติกุล
รจฤดี โชติกาวินทร์
วัลลภ ใจดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
คุณภาพน้ำ - - แม่น้ำบางประกง(ฉะเชิงเทรา) - - วิจัย
จุลินทรีย์ - - แม่น้ำบางประกง(ฉะเชิงเทรา) - - วิจัย
นิเวศวิทยา - - แม่น้ำบางปะกง(ฉะเชิงเทรา) - - วิจัย
แบคทีเรีย - - แม่น้ำบางประกง(ฉะเชิงเทรา) - - วิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2542
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปากแม่น้ำบางปะกงเป็นบริเวณที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจำนวนมาก อันเป็นผลให้เป็นแหล่งรวมของของเสียต่าง ๆ ทั้งทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ โดยเฉพาะเชื่อโรคที่ปนเปื้อนน้ำบริเวณนี้อันอาจมีผลกระทบต่อระบบห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศน์วิทยาของบริเวณปากแม่น้ำ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่อการรอดชีวิตของฟีคัลโคลิฟอร์มและฟีคัลสเตรปโตคอคไค เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาเลือกใช้จุลินทรีย์บ่งชี้นี้เหมาะสมในการกำหนดคุณภาพน้ำบริเวณปากแม่น้ำ การดำเนินการวิจัยมีทั้งภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ ในภาคสนามประกอบด้วยการเก็บตัวอย่างน้ำในระยะต่าง ๆ จากปากแม่น้ำ คือ บริเวณปากแม่น้ำ และบริเวณที่ห่างจากปากแม่น้ำในระยะ 2.5, 5, 8 และ 12 กิโลเมตร และที่ระดับความลึก 3 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าผิวน้ำ 30 เซนติเมตร ระดับกึ่งกลางแม่น้ำ และระดับเหนือท้องน้ำ 50 เซนติเมตร ในช่วงเวลา 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว หลังจากนั้นมีการทดลองทางห้องปฏิบัติการโดยการใช้ระบบจำลอง microcosm ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ, ความนำไฟฟ้า, ความเค็มและของแข็งละลายน้ำทั้งหมดมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับฟีคัลสเตรปโตคอคไค แต่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับฟีคัลโคลิฟอร์ม จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า แสงแดดและความเค็มเป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีผลต่อการรอดชีวิตของฟีคัลโคลิฟอร์มและฟีคัลสเตรปโตคอคไค และพบว่า ที่ความเค็มที่ 1, 10, 20 และ 30 ส่วนในพันส่วน ฟีคัลสเตรปโตคอคไคมีการรอดชีวิตได้ดีกว่าฟีคัลโคลิฟอร์ม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/884
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_222.pdf4.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น