กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8834
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาและแนวทางการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอนิคมพัฒนาจังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems nd guided development for cdmic ffirs dministrtive of the schools in nikhomphttn district ryong province under the office of the bsic eduction commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภารดี อนันต์นาวี สถาพร พฤฑฒิกุล สุภารัตน์ คงวัง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การศึกษา -- การบริหาร (ประถมศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนเขตอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 608-609) จำนวน 169 คน และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือ ใช้ในการเก็บรวบรวม แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2 สอบถามปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20-.54 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .86 ตอนที่ 3 เป็นแบบปลายเปิดให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การสอนของครู โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับท้องถิ่น มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพความต้องการของผู้เรียน ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน องค์กร หน่วยงาน ควรให้ความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8834 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58920490.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น