กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8824
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนจ่าทหารเรือในสถานศึกษาสังกัดกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study on reltionship motivtion for disese prevention nd ids prevention behvior of nvl rting students in eduction institute of the royl thi nvy in Stthip district, chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วสุธร ตันวัฒนกุล
คมสัน ขันทะสีมา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
โรคเอดส์ -- การป้องกัน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรงเอดส์เป็นโรคติดต่ออันตราย สามารถติดต่อกับประชาชนได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะประชาชนในวัยรุ่น ถ้าติดต่อแล้ว นอกจากจะทำลายสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ยังก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นกำลังคนของชาติตามไปด้วย ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนจ่าทหารเรือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ 414 นาย ของสถานศึกษาสังกัดกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2560 ข้อมูลเก็บด้วยการส่งแบบสอบถามให้ตอบในห้องเรียนและวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนจ่าทหารเรือเป็นนักเรียนชั้นปี 1 ร้อยละ 54.3 และชั้นปี 2 ร้อยละ 45.7 จำนวนมากสุดเป็นนักเรียนพรรคนาวิน รองลงมาพรรคนาวิกโยธิน พรรคกลิน และพรรคพิเศษ ร้อยละ 43.5, 27.5, 21.7 และร้อยละ 7.3 ตามลำดับ มีการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ เฉลี่ยร้อยละ 58.3 โดยรับจากประเภทสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด เฉลี่ยร้อยละ 72.5 รองลงมาประเภทสื่อบุคคล เฉลี่ยร้อยละ 61.1 และประเภทสื่อมวลชน เฉลี่ยร้อยละ 50.8 มีแรงจูงใจในการป้องกันโรค เฉลี่ยร้อยละ 78.3 โดยมีการรับรู้ความรุนแรงของโรคมากสุด เฉลี่ยร้อยละ 81.6 รองลงมามีความคาดหวังผลการป้องกัน เฉลี่ยร้อยละ 78.2 มีความคาดหวังความสามารถในการป้องกัน เฉลี่ยร้อยละ 78.1 และมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค เฉลี่ยร้อยละ 75.2 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์โดยรวม เฉลี่ยร้อยละ 66.2 โดยมีการหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด เฉลี่ยร้อยละ 70.4 และมีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เฉลี่ยร้อยละ 63.5 แรงจูงใจในการป้องกันโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค ความคาดหวังผลการป้องกัน ความคาดหวังความสามารถในการป้องกันกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนจ่าทหารเรือสัมพันธ์กันเชิงบวก ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.557, 0.215, 0.357, 0.465, และ 0.651 ตามลำดับ (p<.01) ฉะนั้น จึงควรส่งเสริมให้นักเรียนจ่าทหารเรือมีแรงจูงใจในกรป้องกันโรค และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์เพิ่มขึ้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ส.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56910084.pdf2.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น