กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8824
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วสุธร ตันวัฒนกุล | |
dc.contributor.author | คมสัน ขันทะสีมา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T04:25:35Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T04:25:35Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8824 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (ส.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | โรงเอดส์เป็นโรคติดต่ออันตราย สามารถติดต่อกับประชาชนได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะประชาชนในวัยรุ่น ถ้าติดต่อแล้ว นอกจากจะทำลายสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ยังก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นกำลังคนของชาติตามไปด้วย ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนจ่าทหารเรือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ 414 นาย ของสถานศึกษาสังกัดกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2560 ข้อมูลเก็บด้วยการส่งแบบสอบถามให้ตอบในห้องเรียนและวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนจ่าทหารเรือเป็นนักเรียนชั้นปี 1 ร้อยละ 54.3 และชั้นปี 2 ร้อยละ 45.7 จำนวนมากสุดเป็นนักเรียนพรรคนาวิน รองลงมาพรรคนาวิกโยธิน พรรคกลิน และพรรคพิเศษ ร้อยละ 43.5, 27.5, 21.7 และร้อยละ 7.3 ตามลำดับ มีการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ เฉลี่ยร้อยละ 58.3 โดยรับจากประเภทสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด เฉลี่ยร้อยละ 72.5 รองลงมาประเภทสื่อบุคคล เฉลี่ยร้อยละ 61.1 และประเภทสื่อมวลชน เฉลี่ยร้อยละ 50.8 มีแรงจูงใจในการป้องกันโรค เฉลี่ยร้อยละ 78.3 โดยมีการรับรู้ความรุนแรงของโรคมากสุด เฉลี่ยร้อยละ 81.6 รองลงมามีความคาดหวังผลการป้องกัน เฉลี่ยร้อยละ 78.2 มีความคาดหวังความสามารถในการป้องกัน เฉลี่ยร้อยละ 78.1 และมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค เฉลี่ยร้อยละ 75.2 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์โดยรวม เฉลี่ยร้อยละ 66.2 โดยมีการหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด เฉลี่ยร้อยละ 70.4 และมีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เฉลี่ยร้อยละ 63.5 แรงจูงใจในการป้องกันโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค ความคาดหวังผลการป้องกัน ความคาดหวังความสามารถในการป้องกันกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนจ่าทหารเรือสัมพันธ์กันเชิงบวก ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.557, 0.215, 0.357, 0.465, และ 0.651 ตามลำดับ (p<.01) ฉะนั้น จึงควรส่งเสริมให้นักเรียนจ่าทหารเรือมีแรงจูงใจในกรป้องกันโรค และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์เพิ่มขึ้น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.subject | โรคเอดส์ -- การป้องกัน | |
dc.title | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนจ่าทหารเรือในสถานศึกษาสังกัดกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | A study on reltionship motivtion for disese prevention nd ids prevention behvior of nvl rting students in eduction institute of the royl thi nvy in Stthip district, chonburi province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | AIDS is a contagious disease, can contact with people of all ages, especially in the teenagers. If contacted, it will ruin the living conditions, it also contributes to the loss of human resources to be the force of the nation as well. Therefore, this study was the relationship between motivation for disease prevention and AIDS prevention behavior of Naval Rating students. The sample was 414 students from the education institute of the Royal Thai Navy in Sattahip district Chonburi province, and studying in year 2560. Data were collected by sending questionnaires to answer in classroom, and analyzed by percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlation coefficient. The results showed the students are the first class 54.3% and second class 45.7%. The most of the students are General Line, follow by Marine Corps, Engineering Line and Special Corps at the 43.5, 27.5, 21.7 and 7.3 percent, respectively. Information perception about AIDS at the 58.3 percent of average score, the side with the most perception for internet at the 72.5 percent of average score, follow by perception for person at the 61.1 percent of average score, and mass media at the 50.8 percent of average score. They had motivation for disease prevention at the 78.3 percent of average score, the side with the most were perceived severity at the 81.6 percent of average score, follow by response efficacy at the 78.2 percent of average score, self-efficacy at the 78.1 percent of average score, and perceived vulnerability at the 75.2 percent of average score. They had overall of the AIDS prevention behavior at the 66.2 percent of average score, the side with avoided blood contact at the 70.4 percent of average score, and avoided sexual risk behavior at the 63.5 percents of average score. The motivation for disease prevention, perceived severity, response efficacy, self-efficacy, perceived vulnerability and AIDS prevention behavior positive correlated, given correlation coefficient 0.557, 0.215, 0.357, 0.465 and 0.651, respectively (p<.01). Therefore, students should be encouraged to have motivation for disease preention, and the prevention of AIDS. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | สาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
56910084.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น