กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8816
ชื่อเรื่อง: การประเมินการรับสัมผัสสารไซลีนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสพติดของพนักงานในโรงงานผลิตสีอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The evlution of xylene exposure nd fctors relted of ddiction mong workers in industril pint mnufcturing chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นันทพร ภัทรพุทธ
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
ศรายุทธ พิริยะเบญจวัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ไซลีน
อุตสาหกรรมสี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับสัมผัสสารไซลีนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสพติดของพนักงาน จำนวน 100 คน ในโรงงานผลิตสีอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี โดยการหาปริมาณความเข้มข้นของกรดเมทิลฮิปปูริกในปัสสาวะ (หลังสิ้นสุดการทำงาน) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสพติดสารโดยใช้แบบสอบถาม และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 84.0 อายุเฉลี่ย 33.53 ปี ชั่วโมงการทำงานกับสารตัวทำละลายเฉลี่ย 5.87 ชั่วโมง/ วัน ส่วนใหญ่ทำงานในแผนกผสมและพ่นสีร้อยละ 38.0 และปริมาณระดับความเข้มข้นของกรดเมทิลฮิปปูริกในปัสสาวะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.014 g/ g creatinine จากการตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะเสพติดสารตัวทำละลายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.0 และระดับสูง ร้อยละ 12.0 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสพติดสารตัวทำละลาย ได้แก่ เพศ (p = 0.021), อายุ (p = 0.007), ระดับการศึกษา (p = 0.042), การสูบบุหรี่ (p<0.001), การดื่มแอลกอฮอล์ (p<0.001), การรับสัมผัสสารไซลีทางผิวหนัง (p = 0.008), ลักษณะงานที่ทำ (p = 0.001), จำนวนชั่วโมงที่ทำงานกับสารทำละลาย (p<0.001), การทำงานล่วงเวลา (p = 0.001), การใช้ชุดป้องกันสารเคมี (p = 0.037) และปริมาณความเข้มข้นของกรดเมทิลฮิปปูริกในปัสสาวะ (p<0.001) ผลศึกษครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การรับสัมผัสสารไซลีนมีผลต่อภาวะเสพติดสารตัวทำละลาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและตรวจกำกับด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างเข้มงวดตามกฎหมาย 2 ครั้ง/ ปี เพื่อป้องกันภาวะเสพติดสารตัวทำละลายในอนาคต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8816
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920199.pdf3.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น