กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/880
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุรสิงห์ ไชยคุณ | |
dc.contributor.author | นิรันดร์ วิฑิตอนันต์ | |
dc.contributor.author | สกุล ศรีญาณลักษณ์ | |
dc.contributor.author | จักรพันธ์ ถาวรธิรา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:54:49Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:54:49Z | |
dc.date.issued | 2540 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/880 | |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อศึกษาหลักการทำงาน และเทคนิคในการออกแบบและสร้างเครื่องเคลือบฟิล์มบางด้วยวิธีสปัตเตอริง แบบดีซีแมกนีตอน ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษาคือการออกแบบและสร้างระบบเคลือบ การทดสอบระบบเคลือบและการทดสอบการเคลือบฟิล์มบาง ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้ ระบบเคลือบที่ออกแบบและสร้างขึ้นมีส่วนประกอบสำคัญคือ ระบบสูญญากาศ ภาชนะสูญญากาศ คาโทดและเป้าสารเคลือบ ระบบน้ำหล่อเย้น ระบบจ่ายไฟฟ้าและระบบป้อนแก๊สภาชนะสูญญากาศทำจากเหล็กกล้าสเตนเลสหนา 3.0 มิลลิเมตร รูปทรงกระบอกมีปริมาตรประมาณ 9.14 ลิตร คาโทดมีพื้นที่เป้าสารเคลือบแผ่นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.6 เซนติเมตร พร้อมคาโทดชีลด์ ติดตั้งแม่เหล็กไว้ด้านหลังเป้าสารเคลือบและมีความเข้มสนามแม่เหล็กบนผิวเป้าสารเคลือบประมาณ 370 เกาส์ ระบบน้ำหล่อเย็นใช้หล่อเย็นคาโทด เป้าสารเคลือบและส่วนบนของเพลตวาล์วของเครื่องสูบแพร่ไอ ระบบจ่ายไฟฟ้าเป็นระบบแปลงไฟฟ้ากระแสตรงแรงสูง แบบฟลูเวฟ สามารถปรับโวลต์เตจ ช่วง 0-450 โวลต์ กระแสไฟฟ้าคงที่ ที่ 0-2 แอมป์ ระบบป้อนแก๊สควบคุมด้วยวาล์วเปิด-ปิด และวาล์วรูเข็มทำหน้าที่เปิด-ปิด และควบคุมปริมาณแก๊สที่เข้าสู่ระบบติดตั้งอยู่ที่แผ่นปิดบน และมีท่อนำแก๊สต่อเข้ากับคาโทดชีลด์ จากการทดสอบระบบเคลือบพบว่าระบบเคลือบสามารถทำความดันภายในภาชนะสุญญากาศได้ต่ำสุด 8.0x10 -6 มิลลิบาร์ ในเวลา 60 นาที เมื่อทดสอบการเคลือบโดยใช้ไททาเนียมและทองแดงเคลือบบนกระจกสไลด์ พบว่าขณะเคลือบสีคาโทดโกลว์ของไททาเนียมจะมีสีเป็นสีฟ้าขาวส่วนทองแดงจะเป้นสีฟ้าอมเขียว ฟิล์มที่ได้เมื่อสังเกตด้วยสายตาพบว่า มีสีที่แวววาวของสารเคลือบและไม่ปรากฎสภาพหมองคล้ำของฟิล์มโลหะเหล่านี้ และเมื่อทดลองการยึดติดของฟิล์มบางโดยการเช็ดถูด้วยนิ้วมือ ขูดด้วยเล็บ พบว่าไม่สามารถทำให้ฟิล์มบางที่ได้หลุดออก และเมื่อปล่อยทิ้งไว้ในอากาศพบว่าจะมีการเกิดออกไซด์เฉพาะฟิล์มบางทองแดงเท่านั้นส่วนฟิลืมบางของไททาเนียมจะยังคงสภาพเหมือนเดิม | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2540 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า | th_TH |
dc.subject | การชุบเคลือบผิวโลหะ | th_TH |
dc.subject | งานโลหะ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การพัฒนาการเคลือบฟิล์มบางด้วยวิธีสปัตเตอริง | th_TH |
dc.title.alternative | Development of thin films process by Sputturing Method | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2540 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_188.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น