กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8794
ชื่อเรื่อง: | การดำเนินงานการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The prctice of the elderly’s living llowce pyment by wt-lung sub-district dministrtive orgniztion, mphoe phnt nikhom, chon buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุณี หงษ์วิเศษ ณภัสสรณ์ ศิริรวยธนัตถ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ผลการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวงอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาหาแนวทางในการดำเนินงานการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้คือผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพ จำนวน 8 คน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวงจำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านนโยบายและแผนงาน องค์การบริหารส่วนตำบลจ่ายเงินเบี้ยยังชีพตรงตามเวลาที่ผู้บริหารได้กำหนดไว้ มีการจัดทำแผนงานกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุทุกปี และเจ้าหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุทุกปี ปัญหาและอุปสรรคฐานข้อมูลผู้สูงอายุไม่เป็นปัจจุบัน และขาดความต่อเนื่องขาดบุคลากรคอยช่วยงานแนวทางการดำเนินงาน ควรจัดทำฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและมีให้มีผู้ช่วยในการปฏิบัติงาน 2) ด้านการประชาสัมพันธ์มีเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลรับผิดชอบหนังสือประชาสัมพันธ์ผ่านทางเจ้าหน้าที่สมาชิกสภาและประชาสัมพันธ์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ปัญหาและอุปสรรคไม่มีเสียงตามสายหรือหอกระจายข่าว หนังสือประชาสัมพันธ์ออกล่าช้าแนวทางการดำเนินงาน ควรมีรถกระจายข่าวเพื่อช่วย ประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วถึง 3) ด้านการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ มีการมอบอำนาจให้กับสมาชิก และลูกหลานมารับแทนปัญหาและอุปสรรค มีการจัดทำฎีกาหลายขั้นตอน การเตรียมเงินสดเพื่อ การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงและไม่มีการประสานงานระหว่างนักพัฒนาชุมชนกับกองคลัง แนวทางการดำเนินงาน ควรโอนเงินเข้าบัญชีทั้งหมด เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน และให้มีผู้ช่วยในการปฏิบัติงาน 4) ด้านการประเมินและติดตามผล มีเจ้าหน้าที่ออกเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุและมีการติดตามผู้สูงอายุที่ป่วยเข้าโรงพยาบาลที่ไม่สามารถมารับเงินเบี้ยยังชีพได้ด้วยตนเอง ปัญหาและอุปสรรค ติดตามผู้สูงอายุที่อยู่พื้นที่ห่างไกลให้มาลงทะเบียน ถ้ามาลงทะเบียนไม่ทันก็เสียสิทธิแนวทางการดำเนินงาน ผู้บริหารควรออกเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุเดือนละครั้งและมีหนังสือประชาสัมพันธ์ให้กับผู้นำเพื่อช่วยติดตามผู้สูงอายุให้มาลงทะเบียน |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8794 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59930024.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น