กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8793
ชื่อเรื่อง: ความฉลาดทางอารมณ์กับทักษะการบริหารงานของผู้บริหารองค์กร สำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการภายในเขตพื้นที่แห่งหนึ่ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Emotionl quotient nd mngeril skills mong dministrtors working for bureus of generl dministrtion, offices of public prosecution in n re
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุณี หงษ์วิเศษ
ณลินี แสงประทุม
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: องค์กร -- การบริหาร
ความฉลาดทางอารมณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารองค์กร สำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการภายในเขตพื้นที่แห่งหนึ่งจำแนกตามแนวของกรมสุขภาพจิต 3 ด้านได้แก่ ด้านดีด้านเก่ง ด้านสุข 2) ศึกษาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการภายในเขตพื้นที่แห่งหนึ่งจำแนกตามแนวคิดของเดรคและโรว์ 5 ทักษะ ได้แก่ทักษะทางความรู้ความคิด ทักษะทางเทคนิค ทักษะทางการศึกษาและการสอน ทักษะทางมนุษย์ทักษะความคิดรวบยอด 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับทักษะการบริหารงานของผู้บริหารองค์กร สำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการภายในเขตพื้นที่แห่งหนึ่ง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหารองค์กร สำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการภายในเขตพื้นที่แห่งหนึ่ง จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.94 และแบบสอบถามทักษะการบริหารงานได้ค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากรและการทดสอบการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารองค์กร สำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการภายในเขตพื้นที่ แห่งหนึ่ง มีระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปกติ 2) ผู้บริหารองค์กร สำนักอำนวยการสำนักงานอัยการภายในเขตพื้นที่แห่งหนึ่ง มีทักษะการบริหารงานโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับทักษะการบริหารงานของผู้บริหารองค์กร สำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการภายในเขตพื้นที่แห่งหนึ่ง ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8793
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930023.pdf1.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น