กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8783
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสามปี (พ.ศ. 2559-พ.ศ. 2561) เทศบาลตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prticiption of community leders in mking the locl development 3 yer pln (2016-2018) of plngyo sub-district municiplity, plngyo ditrict, chchoengso province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษฎา นันทเพ็ชร
นิตยา จันณรงค์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
การมีส่วนร่วมของชุมชน
ผู้นำชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสามปี (พ.ศ. 2559-พ.ศ. 2561) ของเทศบาลตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทราครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแปลงยาวและเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแปลงยาว จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ตำแหน่งในชุมชน ผลจากการวิเคราะห์โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 130 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจก แจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ Independent t-test ในกรณีการเปรียบเทียบกลุ่มตัวแปรที่มีค่าสองค่าและใช้สถิติ F-test (One-way Analysis of Variance) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 84 คน มีอายุระหว่าง 41-50 ปี มีสถานภาพสมรส มีการศึกษา อยู่ในระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรโดยมีรายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท และมีตำแหน่งในชุมชนเป็นกรรมการชุมชน มากที่สุด จำนวน 70 คน การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแปลงยาวโดยภาพรวมมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า มีส่วนร่วมด้านการคัดเลือก ยุทธศาสตร์และแนวทางในการพัฒนามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา และด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นอันดับสุดท้าย และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้นำชุมชนที่มีตำแหน่งในชุมชนที่ต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 แต่ผู้นำชุมชนที่มีเพศ อายุ รายได้ สถานภาพ อาชีพ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8783
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930009.pdf2.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น