กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8776
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for sustinble eco-tourism mngement mong entrepreneurs on koh smed, mphoe mueng, ryong province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์ ปรีดา ศรีเมฆ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- ระยอง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะเสม็ด และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะเสม็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด จำนวน 138 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าโดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดมีความคิดเห็นต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดว่ามีแนวโน้มเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน มากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านการเมือง มีแนวโน้มเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ สถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านเศรษฐกิจ, สถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านสังคมและวัฒนธรรม และสถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ส่วนแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของกลุ่มตัวอย่าง ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างประกอบการบนเกาะเสม็ดมีความเห็นต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนว่ามีความเหมาะสมกับเกาะเสม็ดมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านเจ้าหน้าที่สนับสนุนทางด้านการท่องเที่ยว มีความเหมาะสมกับเกาะเสม็ดมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านตลาดการท่องเที่ยว, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านนโยบายการท่องเที่ยว, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านการวางแผนการใช้พื้นที่, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านสิทธิ์ ครอบครองที่ดิน, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านมาตรฐานการท่องเที่ยวและกฎระเบียบ, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านการฝึกอบรม และการมีใบอนุญาตด้านการท่องเที่ยว, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้าน การพัฒนาพื้นที่อุทยาน, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านสินเชื่อธุรกิจ และการสนับสนุนเงินทุน และแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านกิจการร่วมค้าทางด้านการท่องเที่ยว ตามลำดับ |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (ปร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8776 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59930048.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น