กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8775
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ | |
dc.contributor.author | ยลรฉัตร มงคลนิติพัฒน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T04:21:12Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T04:21:12Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8775 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (ปร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของนโยบายด้านอสังหาริมทรัพย์ปัญหา และอุปสรรคการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และแนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรคทางการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดของผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชลบุรีกรณีศึกษา เทศบาลเมืองแสนสุขจังหวัดชลบุรีการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งได้แก่ ประกอบการหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 10 รายและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้านนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐส่วนมากเน้นส่งเสริมให้แก่ผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางเป็นหลัก ไม่ได้เน้นส่งเสริมในส่วนผู้ประกอบการโดยตรงอย่างไรก็ตามผู้ประกอบการมองว่าระยะเวลาของนโยบายของภาครัฐน้อยเกินไปไม่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากนโยบายเพียงส่วนน้อยเท่านั้น สำหรับปัญหาและอุปสรรคกระบวนการดำเนินธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์พบว่า กระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด มีขั้นตอนในการดำเนินการที่ยุ่งยากและซับซ้อนทั้งการจัดเตรียมเอกสารและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่อำนวยล่าช้าอีกทั้งผู้ประกอบการต้องดำเนินการติดต่อหน่วยงานภาครัฐในหลายส่วน ทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจอยู่และสำนักงานที่ดินของจังหวัด สำหรับแนวทางการแก้ปัญหานโยบายการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐควรปลดล็อคเครดิตให้กับประชาชนบางกลุ่มที่เสียเครดิตไม่ร้ายแรงและเน้นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในจุดประสงค์และเป้าหมายของนโยบายที่ภาครัฐกำหนดออกมาอีกทั้งภาครัฐควรกำหนดนโยบายด้านอสังหาริมทรัพย์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและผู้ประกอบการแนวทางการแก้ปัญหาด้านกระบวนการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด ควรจัดทำคู่มือกระบวนการสร้างอาคารชุดและสำนักงานที่ดิน ควรแบ่งกลุ่มเจ้าหน้าในการให้บริการโดยแยกเป็นส่วนของผู้ประกอบการกับประชาชนทั่วไปเพื่อลดความล่าช้าในการดำเนินการ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | อาคารชุด -- ชลบุรี | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | |
dc.subject | ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ | |
dc.title | การดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดของผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Rel estte business opertions of condominiums mong entrepreurs in Chon Buri province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this qualitative study was to examine policy outcomes on real estate business, problems and obstacles in operating this type of business, solving guidelines for problems and obstacles in real estate business operations of condominiums among entrepreneurs in Chon Buri Province. An in-depth interview technique was used for data collection. The key informants participating in this study included 10 entrepreneurs and government officers involving in operating real estate business of condominiums in Chon Buri Province. A content Analysis technique was used to analyze the collected data. The results of the study revealed that, regarding the problems and obstacles arisen from the policy, the promotional activities for investment conducted by public sectors mostly focused only on low to moderate income groups of people rather than the entrepreneurs. Also, these entrepreneurs viewed the length of policy was too short to benefit them; they gained little from the policy. In addition, considering the processes and steps in operating real estate business of condominiums, they were complicate and difficult in terms of paper preparation; the government officers were slow in work and progress. Also, there were so many offices, namely local governments where these entrepreneurs belonged and Provincial Land Offices through which these entrepreneurs were required to pass. Furthermore, concerning the solving guidelines for government promotional policy on real estate, the government should be more flexible with its implementation; it should focus on publicizing and disseminating knowledge and understanding among the public of the policy goals and objectives. Moreover, policy making should be based on reality and actual conditions, maximizing the benefits of the public and entrepreneurs. Finally, regarding solving guidelines for real estate business operations of condominiums, manuals for constructing condominiums should be made available for the public. The government officers working for the Land Office should be assigned specifically to provide service for these entrepreneurs to ensure promptness of action. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59930049.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น