กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8755
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต
dc.contributor.authorธนนท์ รักษ์ธนธัช
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-06-06T04:21:05Z
dc.date.available2023-06-06T04:21:05Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8755
dc.descriptionงานนิพนธ์ (ปร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง “ความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการครู สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี” การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีและเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเอง ของข้าราชการครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาและตําแหน่งโดยวิธีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 224 คน โดยใช้สูตรของ Yamane (1973) และใช้สถิติ t-test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม และใช้สถิติ One-way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 3 กลุ่มขึ้นไป ผลการศึกษา พบว่า ข้าราชการครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมมีความต้องการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 5 ด้านคือ ด้านการศึกษาเพิ่มคุณวุฒิ ด้านการฝึกอบรมและปฏิบัติงานจริง ด้านการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการทัศนศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติงานและด้านการเลื่อนตําแหน่งทางวิชาการ โดยภาพรวม มีความต้องการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายด้าน โดย เรียงลําดับจากคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ข้าราชการครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีความต้องการในการพัฒนาตนเอง ในด้านการทัศนศึกษาดูงาน และฝึกปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการฝึกอบรมและปฏิบัติงานจริง ด้านการศึกษาเพิ่มคุณวุฒิและด้านการเลื่อนตําแหน่งทางวิชาการ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้าราชการครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีความต้องการในการพัฒนาตนเองที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและตําแหน่ง มีความต้องการในการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.subjectการพัฒนาตนเอง
dc.subjectครู -- การพัฒนาตนเอง
dc.titleความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปทุมธานี เขต 2 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
dc.title.alternativeSelf-development needs of techers in pthumthni eductionl sevice re 2,thnyburi destrict, pthomthni province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to examine needs for self-development among teachers working in Pathum Thani Educational Service Area 2, AmphoeThanyaburi, Pathum Thani Province and to compare their level of needs for self-development as classified by gender, age, educational level, and work position. The data were collected from 224 teachers, working in Pathum Thani Educational Service Area 2, Amphoe Thanyaburi, Pathum Thani Province who were recruited based on Yamane’s formula (1973). The test of t-test was administered to test the differences between independent variables with two groups. Also, the test of One-way ANOVA was used to test the differences between independent variables with three groups onwards. The results of the study revealed that the level of needs for self-development among the teachers was at the highest level in all five aspects, including, furthering their study at a higher level, receiving trainings and real practice, workshop, field study, and academic promotion. When considering each aspect, the one in relation to having field study was rated with the highest mean score by the subjects, followed by the aspects of having workshop, training and real practice, furthering their study at a higher level, and academic promotion, respectively. Based on the test of hypothesis, it was found that there were statistically significant differences in the level of needs for self-development among the subjects who had different gender, age, educational level, and work position. The hypothesis was accepted at a significant level of .05.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58930220.pdf2.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น