กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/874
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิภูษิต มัณฑะจิตร | th |
dc.contributor.author | เกรียงศักดิ์ เผด็จภัย | th |
dc.contributor.author | ประสาร อินทเจริญ | th |
dc.contributor.author | สุรัตน์ เจียรนัยวิวัฒน์ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:54:48Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:54:48Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/874 | |
dc.description.abstract | การศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ในการทำการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เพื่อประเมินความเสี่ยงของการหลุดรอดจากการเลี้ยง บริเวณลุ่มน้ำบางปะกง ครอบคลุมพื้นที่ 2,000 ตารางกิโลเมตร เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2550 พบว่าปี พ.ศ. 2548 มีพื้นที่บ่อถูกประเมิน 282.72 ตารางกิโลเมตร โดยเป็นพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้ง 19.86 ตารางกิโลเมตร ปี พ.ศ. 2549 มีพื้นที่บ่อถูกประเมิน 344.80 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่บ่อที่เลี้ยงกุ้ง 82.83 ตารางกิโลเมตร และปี พ.ศ. 2550 มีพื้นที่ถูกประเมิน 182.46 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้ง 1.72 ตารางกิโลเมตร และเมื่อพิจารณาความเสี่ยงจากการหลุดรอดของกุ้งขาวระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2550 พบว่าค่าระดับความอันตราย (HQ) มีค่าลดลงเล็กน้อยเป็น 0.079, 0.064 และ 0.062 เมื่อพืจารณาในระดับพื้นที่พบว่าบริเวณที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดจะเหมือนกันตลอดทั้ง 3 ปี ได้แก่ บริเวณ อ. บ้านโพธิ์ อ. เมือง และ อ. บางคล้า และจากผลการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำในแม่น้ำบางปะกง ปรากฎว่าพบกุ้งขาวทั้ง 3 ปี ทั้งนี้บริเวณที่พบกุ้งขาว ปี พ.ศ. 2548 พบสูงสุดบริเวณ อ. บางคล้าจนถึงบริเวณปากของแม่น้ำบางปะกง ปี พ.ศ. 2549 พบห่างออกไปจากปากของแม่น้ำบางปะกง และ ปี พ.ศ. 2550 พบมากบริเวณ อ. เมือง และ อ. บางปะกง โดยเฉพาะสถานีที่ปากน้ำบางปะกง ผลการสำรวจจากแบบสอบถามในปี พ.ศ. 2548 (113 ชุด) พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 90.7% เป็นเจ้าของที่ดินเอง ทั้งนี้ 75.8% มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับการหลุดรอดออกจากบ่อเลี้ยงผู้ตอบ 97% เชื่อว่าเกิดขึ้นได้ในระหว่างการจับขาย สำหรับปี พ.ศ. 2549 (392 ชุด) ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดินเองโดย 94% มีความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งปานกลาง สำหรับการหลุดรอดออกจากบ่อเลี้ยง 96% ของผู้ตอบเชื่อว่ามี โดยสาเหตุมาจากการจับขาย (61.6%) และปล่อยทิ้งหลังจากมีปัญหาการเลี้ยง โดยเฉพาะจากการระบาดของโรค (9.3%) ผลของการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ามีความเสี่ยงของการหลุดรอดจากการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว ซึ่งผลดังกล่าวยืนยันได้จากการเก็บตัวอย่างกุ้งขาวได้ในแม่น้ำบางปะกงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ทั้งนี้หากกุ้งขาวหลุดออกมามีปริมาณมากขนสามารถตั้งประชากรได้ก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศของลุ่มน้ำบางปะกงได้ในที่สุด ซึ่งอาจจะมีผลต่อระบบนิเวศของลุ่มน้ำบางปะกง ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงมาจากการขาดความตระหนักถึงการนำกุ้งขาวซึ่งเป็นกุ้งต่างถิ่นเข้ามาทำการเพาะเลี้ยงในบริเวณลุ่มน้ำบางปะกง | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2548-2550 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | กุ้งขาว - - การเลี้ยง | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
dc.title | การประเมินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) บริเวณลุ่มน้ำบางปะกงโดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ | th_TH |
dc.title.alternative | An assessment on land used changes of white shrimp (Litopenaeus vannamei) culture in the Bangpakong watershed using geographic information system | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2550 | |
dc.description.abstractalternative | This study monitor the land used from shrimp culture activity for risk assessment of white shrimp (Littopenaeus vannmei) escaping at Bangpakong Watershed. The study area was 2000 km2 covered 100 km long from the river mouth and 10 km wide from each side of the river bank. The study was conducted for 3 years during 2005 to 2007. During 2005, there were assessing areas of 282.72 km2 which 19.86 km2 are active shrimp pond. During 2006, there were assessing area of 344.80 km2 which 82.83 km2 are active shrimp pond. During 2007. there were assessing areas of 182.76 km2 which 19.86 km2 are active shrimp pond. When consider risk for white shrimp escaping from shrimp pong. The level of risk in term of Hazard Quotients (HQ) was decreasing from 2005 to 2007 as 0.079, 0.064 to 0.062 (>0.05, <0.1) which at these levels mean low risk. Base on spatial analysis, it was found that the highest risk areas during 3 years of study are the same as at Amphoe BanPo, Amphoe Mung and amphoe BangKhla. This result is corresponding with the present of white shrimp in the Bangpakong river. Furthermore, there was a trend that white shrimp found more at the station near the river mouth and further away. The shrimp culture status survey was conducted on 2005 (113 farms), it was found that 90.7% is the owner of the shrimp farm land. About 75.8% had moderate knowledge about shrimp culture. For the escaping of white shrimp from the farm, 97% bekieve shrimps can be accidentally escaped especially during the harvesting time (97%). The survey during 2006 (392 farms), about 94% had moderate knowledge about sgrimp culture. For the escaping of white shrimp from the farm, 96% believe shrimps can be accidentally escaped especially during the harvesting time (61.6%) and after there are problems especially from shrimp diseases (9.3%). The results of this study pointing out that there is a risk of white shrimp escaping from the culture area. This result was confirmed by the presenting of white shrimp in the Bangpakong River at lease since 2005. The major cause of the white shrimp escaping was from the lacking of knowledge and responsibility on the introducing shrimp species. This might has impact on local aquatic flora and fauna and also coastal ecosystem of Bangpakong Watershed. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น