กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8749
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย 5 ก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์ กรณีศึกษาเรือนจำพิเศษพัทยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of the implementation of the policy of 5 steps of correctional change Pattaya Remand Prison
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชิตพล ชัยมะดัน
มนัสนันท์ ชาญชลยุทธ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: เรือนจำพิเศษพัทยา -- ชลบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย 5 ก้าวย่าง เรือนจำพิเศษพัทยาในด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้ากระบวนการและผลผลิต และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามนโยบาย 5 ก้าวย่าง เรือนจำพิเศษพัทยาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คนและบุคลากร จำนวน 108 คนโดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นเนื้อหาผลการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินงานตามนโยบาย 5 ก้าวย่าง 1) ด้านสภาพแวดล้อม มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของเรือนจำพิเศษพัทยา 2) ด้านปัจจัยนำเข้าการดำเนินงาน ยังมีข้อจำกัดในด้านบุคลากรที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ไม่เพียงพอกับความต้องการต่อการปฏิบัติงาน 3) ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมโดยหน่วยงาน ระดับนโยบายได้กำหนดวิธีการขั้นตอนวิธีการในการดำเนินโครงการตามนโยบาย 5 ก้าวย่างได้ อย่างเหมาะสมโดยมีกระบวนการได้อย่างชัดเจนมีการติดตามประเมินผลในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานจึงทำให้การดำเนินงานตามนโยบาย 5 ก้าวย่าง ฯ จึงได้มีอย่างประสิทธิภาพ และ 4) ด้านผลผลิต การดำเนินงาน ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดที่กระทรวง กำหนดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ และผู้ต้องขังจึงทำให้สภาพเรือนจำมีความสะอาดเรียบร้อยและไม่มีสิ่งของต้องห้ามเข้ามาในเรือนจำ ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบาย 5 ก้าวย่าง ได้แก่ 1) เรือนจำพิเศษพัทยามีปัญหาจากสถานการณ์มีผู้ต้องขังจำนวนมากเกินกว่าควบคุมตามมาตรฐาน และ 2) การจัดสรรทรัพยากรในด้านการบริหารทั้งเรื่องของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8749
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930037.pdf1.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น