กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8745
ชื่อเรื่อง: การจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Tourism sfety mngement in ptty city re
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิจฐเชต ไกรวาส
กฤษฎา นันทเพชร
จุฬาลักษณ์ พันธัง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว -- มาตรการความปลอดภัย
พัทยา -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การท่องเที่ยว -- การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย แผนงาน และการดําเนินงานในการจัดการความปลอดภัย ด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความปลอดภัย ด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา และรูปแบบและแนวทางการจัดการความปลอดภัย ด้านการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิผลสําหรับเขตพื้นที่เมืองพัทยา โดยการดําเนินการวิจัยได้ใช้วิธีการแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในการศึกษาใช้เครื่องมือแนวคําถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interviews) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key informants) ในกลุ่มผู้บริหาร และผู้นํา จํานวน 18 คน ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานภาครัฐมียุทธศาสตร์ นโยบาย แผนงาน และการดําเนินงาน ด้านความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวในหน่วยงานของตน โดยยุทธศาสตร์หลักมาจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระจายเข้าสู่จังหวัด และในระดับท้องถิ่นซึ่งก็คือเมืองพัทยารวมถึง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการบูรณาการซ้อมแผนจัดการความปลอดภัยร่วมกันปีละ 1 ครั้ง ในขณะที่ภาคเอกชนไม่มีแผนที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา ใช้แนวคิดการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ 4 มิติ ได้แก่ 1) ด้านระบบบริหารบุคลากร และกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยมการทํางาน 2) ด้าน งบประมาณ การเงิน และการพัสดุ 3) ด้านกระบวนการและวิธีการทํางานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และ 4) ด้านมาตรฐานและการวัดผลงานที่ชัดเจน สําหรับผลศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิผลสําหรับเขตพื้นที่เมืองพัทยา พบว่า มี 4 มาตรการ คือ มาตรการที่ 1 ด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัย มาตรการที่ 2 ด้านการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เมื่อประสบปัญหาด้านความปลอดภัย มาตรการที่ 3 ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และมาตรการที่ 4 ด้านการปราบปราม ส่วนแนวทางการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่มีประสิทธิผลสําหรับเขตพื้นที่เมืองพัทยา มีดังนี้ 1) บริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ให้เหมาะสม 2) ผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงานให้ความสําคัญ สนับสนุน ส่งเสริม ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติงานในเชิงรูปธรรม 3) จัดฝึกอบรมและประเมินผลบุคลากร 4) บริหารงบประมาณที่มีอยู่ให้เหมาะสม 5) จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานโดยพิจารณาเรื่องที่สําคัญและเร่งด่วน 6) สร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน และการดําเนินงานในการจัดการ ความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยาในหน่วยงานของตน 7) บูรณาการการทํางานระหว่างหน่วยงาน 8) ปรับปรุงแก้ไขข้อจํากัดด้านกฎหมาย 9) ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนและภาคประชาชน และ 10) ติดตามและประเมินผลการทํางาน อย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8745
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810211.pdf9.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น