กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8728
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอุษณากร ทาวะรมย์
dc.contributor.authorปรีชา น้อยใหม่
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-06-06T04:21:00Z
dc.date.available2023-06-06T04:21:00Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8728
dc.descriptionงานนิพนธ์ (ปร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงานบริษัท อาชิโมริ (ประเทศไทย) จำกัด (2) เพื่อศึกษาความคาดหวังวัฒนธรรมองค์การของพนักงานบริษัท อาชิโมริ (ประเทศไทย) จำกัด และ (3) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงานบริษัท อาชิโมริ (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และระยะเวลาการทำงานในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัท อาชิโมริ (ประเทศไทย) จำกัด ส่วนการผลิต จำนวน 274 คน ได้จากตารางเครจซีและมอร์แกน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิสัดส่วนเท่ากันและการสุ่มแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีความเชื่อถือได้ (Reliability) สูงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานบริษัท อาชิโมริ (ประเทศไทย) จำกัด มีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.44) โดยมีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งเน้นความสำเร็จมาเป็นอันดับหนึ่ง (ค่าเฉลี่ย = 3.67) รองลงมา คือ วัฒนธรรมองค์การแบบราชการ (ค่าเฉลี่ย = 3.56) วัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติ (ค่าเฉลี่ย = 3.43) และวัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัว (ค่าเฉลี่ย = 3.09) ตามลำดับ (2) พนักงานบริษัท อาชิโมริ (ประเทศไทย) จำกัด มีความคาดหวังวัฒนธรรมองค์การอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.23) โดยมีความคาดหวัง วัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งเน้นความสำเร็จมาเป็นอันดับที่หนึ่ง (ค่าเฉลี่ย = 4.31) รองลงมา คือ วัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติ (ค่าเฉลี่ย = 4.30) วัฒนธรรมองค์การแบบราชการ (ค่าเฉลี่ย = 4.23) และวัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัว (ค่าเฉลี่ย = 4.08) ตามลำดับ (3) พนักงาน บริษัท อาชิโมริ (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีอายุ ระดับการศึกษาและสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพนักงาน บริษัท อาชิโมริ (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีระยะเวลาการทำงานในองค์การแตกต่างกัน มีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพนักงานที่มีระยะเวลาการทำงานในองค์การ 6-10 ปีมีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การสูงกว่าพนักงานที่มีระยะเวลาการทำงานในองค์การ 11-15 ปี
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความคาดหวัง
dc.subjectวัฒนธรรมองค์การ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.subjectพนักงานบริษัท
dc.titleการรับรู้และความคาดหวังวัฒนธรรมองค์การของพนักงานบริษัท อาชิโมริ (ประเทศไทย) จำกัด
dc.title.alternativePerception nd expecttion of orgniztionl culture mong compny employees working for Ashimori (Thilnd) Co., LTD.
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was three fold. First, it aimed at examining the perception of organizational culture among employees working for Ashimori (Thailand) Co. Ltd. Also, this study intended to investigate a level of expectation among these employees. The third purpose was to compare these employees’ level of perception of organizational culture as classified by their age, educational level, marital status, and work length in the organization. The subjects participating in this study were 274 employees working for a production section of Ashimori (Thailand) Co. Ltd. These subjects were recruited by a stratified random sampling technique with an equal proportion and a simple random sampling technique. The instrument of this study was a questionnaire with high reliability. The statistical tests used to analyze the collected data included percentage, mean, standard deviation, and a test of One-way ANOVA, The results of this study revealed that, firstly, the level of perception of organizational culture among the subjects was at a high level (mean = 3.44). In particular, the achievement culture was perceived at the highest level (mean = 3.67), followed by perceived of bureaucratic culture (mean = 3.56), clan culture (mean = 3.43) and adaptability culture (mean = 3.09), respectively. Also, the employee’s level of expectation of organizational culture was found at the highest level (mean = 4.23). Specifically, the subjects expressed their expectation of achievement culture at the highest level (mean = 4.31), followed by the expectation of clan culture (mean = 4.30), bureaucratic culture (mean = 4.23), and adaptability culture (mean = 4.08), respectively. Thirdly, it was found that there were no statistically significant differences in the level of perception of organizational culture among the subjects with different age, educational level, and marital status at a significant level of .05. Finally, there were statistically significant differences in the level of perception of organizational culture among the subjects with different length of work in the organization at a significant level of .05. In other words, the employees with work length of 6-10 years had a higher perception of organizational culture than those with work length of 11-15 years.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารทั่วไป
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930129.pdf1.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น