กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8727
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Citizen prticiption to implement sustinble city of phntnikhom municiplity phntnikhom chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์ ทศพร กิจอริยกุล มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | พนัสนิคม (ชลบุรี) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว พนัสนิคม (ชลบุรี) -- ความเป็นอยู่และประเพณี การมีส่วนร่วมของประชาชน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานเมืองน่าอยู่อย่างยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนภายในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคมต่อการดำเนินงานพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย ระดับการศึกษาอาชีพ รายได้ของครอบครัวต่อเดือน สถานภาพทางสังคมและเป้าหมายของความต้องการพัฒนาความเป็นเมืองน่าอยู่โดยศึกษาจากตัวอย่างครัวเรือน จำนวน 370 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์มีสถิติพรรณนา (Descriptive statistics) ประกอบด้วยค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติอนุมาน (Inferential statistics) ประกอบด้วย การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างรายคู่ใช้วิธีการทดสอบความแตกต่างรายคู่ (Post hoc) โดยวิธี Scheffé ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเมืองคนมีสุข ด้านเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ประชาชนมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากและด้านเมืองอยู่ดี ด้านเทศบาลแห่งการเรียนรู้และการบริหารจัดการที่ดีประชาชนมีส่วนร่วม อยู่ในระดับปานกลางและผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษาอาชีพ รายได้ของครอบครัวต่อเดือน สถานภาพทางสังคมและเป้าหมายของความต้องการพัฒนาความเป็นเมืองน่าอยู่ที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาพบว่า ภาพรวมของค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมด้านเทศบาล แห่งการเรียนรู้และการบริหารจัดการที่ดีอยู่ในปานกลาง ซึ่งเป็นผลมาจากการบริหารงานภายในของเทศบาล ซึ่งไม่ได้เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของเทศบาลมากนัก ดังนั้น ผู้วิจัยขอเสนอแนะให้มีการปรับปรุง แก้ไข กฎระเบียบให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับการบริหารงานของเทศบาลมากขึ้น นอกเหนือจากการทำประชาคม รวมทั้งการพัฒนาการให้บริการให้ต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยต่อไปในอนาคต |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8727 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59930131.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น