กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8718
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา บุญยัง | |
dc.contributor.author | ภัทรพล บุญยิ่งเอกธนา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T04:20:58Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T04:20:58Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8718 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทุนมนุษย์ในองค์การภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทุนมนุษย์ในองค์การจำแนกตามประเภทของอุตสาหกรรมและขนาดของอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 47 ตัวอย่าง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 46 ตัวอย่าง และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ จำนวน 46 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 139 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน คือ 1) สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิโดยใช้สัดส่วนที่ไม่เท่ากัน และ 2) สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Welch และ Brown-Forsythe เปรียบเทียบรายคู่ด้วย Dunnett C และ สถิติ One-way ANOVA เปรียบเทียบรายคู่ด้วย Scheffé ผลการวิจัย พบว่า อุตสาหกรรมยานยนต์มีระดับทุนมนุษย์ในองค์การอยู่ในระดับดีเด่น มากที่สุด รองลงมาคือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้้ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์มีระดับทุนมนุษย์ในองค์การอยู่ในระดับดีและระดับปานกลาง มากกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่น ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า องค์การที่มีประเภทอุตสาหกรรมต่างกันจะมีคะแนนทุนมนุษย์ในองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่าอุตสาหกรรมยานยนต์มีคะแนนเฉลี่ยทุนมนุษย์ในองค์การสูงกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่น และเมื่อเปรียบเทียบทุนมนุษย์ในองค์การจำแนกตามขนาดอุตสาหกรรม พบว่า องค์การที่มีขนาดองค์การต่างกันจะมีคะแนนทุนมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีคะแนนทุนมนุษย์ในองค์การสูงกว่าอุตสาหกรรมขนาดอื่น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ทุนมนุษย์ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ | |
dc.title | การเปรียบเทียบทุนมนุษย์ในองค์การระหว่างอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ในจังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Comprtive reserch of humn cpitl in utomotive industry, electricity industry nd petrochemicl nd product industry, chonburi province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was twofold. First, it aimed at examining a level of human capital in industrial sectors, including the automotive industry, electricity industry, and petrochemical and product industry. Also, this study attempted to compare the level of human capital among these industries as classified by their sizes and types. The subjects participating in this study were 139, comprising 47 organizations from the automotive industry, 46 organizations from the electricity industry, and 46 organizations from the petrochemical and product industry. These subjects were selected by two steps, including a stratified sampling technique with an unequal proportion and a simple random technique. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The statistical tests used to analyze the collected data included frequency, mean, percentage, and standard deviation. To test the hypotheses, the test of Welch and BrownForsythe was administered, and Dunnett C was used to compare the differences between pairs. Also, the test of One-way ANOVA was employed, and the test of Scheffé was used to compare the differences between pairs. The results of the study revealed that the organizations of automotive industry possessed an excellent level of human capital, followed by the organizations of electricity industry, and those of petrochemical and product industry, respectively. In particular, the organizations in petrochemical and product industry had high and moderate levels of human capital more than other types of industry. Also, based on the test of hypotheses, it was shown that there were statistically significant differences in human capital scores between organizations with different types of industry at a significant level of .05. Finally, statistically significant differences were found in human capital scores between organizations with different sizes at a significant level of .05. In other words, the large-scale industries were more likely to possess higher human capital scores than other industrial sizes. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารทรัพยากรมนุษย์ | |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59930114.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น