กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8717
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorกฤษฎา นันทเพ็ชร
dc.contributor.advisorกิจฐเชต ไกรวาส
dc.contributor.authorธิดารักษ์ ลือชา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-06-06T04:20:58Z
dc.date.available2023-06-06T04:20:58Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8717
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากรในเทศบาลนคร 2) เพื่อพัฒนาตัวแบบการเสริมสร้างความสุขในการทำงานสำหรับบุคลากรในเทศบาลนครที่มีตัวแปรต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบ 3) เพื่อทดสอบความสอดคล้อง กลมกลืนของตัวแบบการเสริมสร้างความสุขในการทำงานสำหรับบุคลากรในเทศบาลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ พนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างที่ปฏิบัติงาน อยู่ในเทศบาลนคร 29 แห่ง จำนวน 394 คน การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยใช้สถิติพรรณนา โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard division) เพื่อวิเคราะห์ระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรในเทศบาลนคร การวิเคราะห์โมเดลการวัด โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis: CFA) และวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปร สาเหตุที่มีต่อตัวแปรผลดำเนินการโดยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling analysis: SEM) ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรในเทศบาลนครมีความสุขในการทำงานในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวมในระดับมาก ความผูกพันต่อองค์การในภาพรวม ในระดับปานกลาง และความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตัวแบบการเสริมสร้างความสุขในการทำงานสำหรับบุคลากรในเทศบาลนครที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎี มีองค์ประกอบหรือตัวแปรแฝง (Latent variables) 6 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ (Observed variables) 15 ตัวแปร โดยตัวแปรแฝงความสุขในการทำงาน ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ 3 ตัวแปร ได้แก่ ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ และความยึดมั่นผูกพันในงาน ตัวแปรแฝงด้านภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ ประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้ 4 ตัวแปร ได้แก่ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตัวแปรแฝงด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้ 2 ตัวแปร ได้แก่ การใช้แนวทางปฏิบัติที่เน้นผลงานระดับสูง และการพัฒนา และจัดการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ยุติธรรม ตัวแปรแฝงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ 2 ตัวแปร ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านกายภาพ และการสร้างบรรยากาศในการทำงาน ตัวแปรแฝงด้านการเสริมสร้างสุขภาพ ประกอบด้วยตัวแปร สังเกตได้ 2 ตัวแปร ได้แก่ การเสริมสร้างสุขภาพกาย และการเสริมสร้างสุขภาพจิต ตัวแปรแฝง ด้านการสนับสนุนการดำเนินชีวิต ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ 2 ตัวแปร ได้แก่ การส่งเสริม การออมและการสนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ตัวแบบการเสริมสร้างความสุขในการทำงานสำหรับบุคลากรในเทศบาลนคร มีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (χ 2 / df) มีค่าน้อยกว่า 2 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้อง (Goodness of fit index: GFI) เท่ากับ .935 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted goodness-of-fit index: AGFI) เท่ากับ .925 ค่าดัชนีความสอดคล้องเปรียบเทียบ (Comparative fit index: CFI) มีค่าเท่ากับ .984 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน (Root meansquareerrorof approximation: RMSEA) มีค่าเท่ากับ .048 จึงสรุปว่าตัวแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงของตัวแปรสาเหตุที่มีต่อตัวแปรผลในตัวแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพและการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลทางตรงต่อความสุขในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (ß = .57) สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีอิทธิพลทางตรงต่อความสุขในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (ß = .19) การสร้างเสริมสุขภาพและการสนับสนุนการดำเนินชีวิตไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสุขในการทำงานที่นัยสำคัญทางสถิติ .01 (ß = -.05)
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความสุขในการทำงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
dc.subjectความสุข
dc.titleตัวแบบการเสริมสร้างความสุขในการทำงานสำหรับบุคลากรในเทศบาลนคร
dc.title.alternativeHppiness t work enhncement for municiplity city officers model
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research study was 1) to study about happiness at work of municipality officers, 2) to develop model of happiness at work enhancement for municipality officers, 3) to analyze the confirmatory factors in model, and 4) to analyze the influential cause variables on direct effected to the variables of model.The sample group are 394 officers in 29 municipality. The quantitative analysis employed in this study was descriptive statistics, percentage, and standardized score. The confirmatory factor analysis was used to test the consistency of model with an observed set of data. The structural equation model analysis was applied for analyzing the causal relations between variables in the conceptual model. The results of the study revealed that the level of happiness at work of municipality officers in satisfaction at work and work engagement were high level, organizational commitment was medium level. Model of happiness at work enhancement for municipality officers consisted of 6 latent and 15 observed variables. Latent variables in model were happiness at work, leadership, human resource management, placing, enhancement of healthy and enhancement of life style. Observed variables of happiness at work were satisfaction at work, work engagement and organizational commitment. Observed variables of leadership were idealized influence, inspiration motivation, intellectual stimulation and individualized consideration. Observed variables of human resource management were high performance work practices and organizational justice. Observed variables of work condition were physical placing and ethical climate in organization. Observed variables of enhancement of healthy were physical health enhancement and mental health enhancement. Observed variables of enhancement of life style were financial enhancement and family relationship enhancement. The results of the structural model analysis revealed that the predefined factor model was appropriate to the empirical data (χ2/ df was p < 2 while GFI = .935, AGFI = .925, CFI = .984 and RMSEA = .048). The results of the structural equation model analysis indicated that leadership, humanresource management had positive direct effects to happiness at work with significant .01. Placing had positive direct effects to happiness at work with significant .05.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810005.pdf1.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น