กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8715
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม
dc.contributor.authorณิยดา ชูวณิชชานนท์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:20:58Z
dc.date.available2023-06-06T04:20:58Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8715
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำแนกตามระดับชั้น และประเภทวิชาที่ศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี ที่ออกกลางคันปีการศึกษา 2559-2560 จำนวน 95 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามประเภทวิชา กำหนดเป็นระดับชั้นในการสุ่มแล้วจึงทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ตามลำดับผู้บริหาร ครูผู้สอนครูที่ปรึกษาจำนวน 45 คน และผู้ปกครอง จำนวน 25 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) รวมทั้งหมดจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง .30-.91 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่าทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี โดยรวมและ รายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านส่วนตัวของนักเรียน นักศึกษา รองลงมา คือ ด้านสถานศึกษา และ ด้านครูผู้สอน 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี จำแนกตามระดับชั้น โดยรวมและรายด้าน แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านสภาพแวดล้อมที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยนักเรียนระดับปวช. มีปัญหามากกว่านักศึกษาระดับ ปวส. และเมื่อจำแนกตามประเภทวิชา โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการแก้ไขปัญหาการออกกลางคัน คือ สถานศึกษาส่งเสริมผู้เรียนในการพัฒนาทักษะวิชาชีพตามศักยภาพ ควรมีความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยกับผู้ปกครอง และสถานประกอบการ ในการให้ความช่วยเหลือพัฒนาผู้เรียนด้วยการติดตามอย่างใกล้ชิด ให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย ในการพัฒนาตนเอง และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนสายอาชีพ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการออกกลางคันในโรงเรียนอาชีวศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectนักเรียนอาชีวศึกษา
dc.titleการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeStudent dropout problem nd solutions in chonburi voctionl college
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study a dropout problem of vocational students of Chonburi Vocational College. This study reports levels of the problem classified by opinion of students with different year and academic programs. The samples were 95 students dropping out from vocational certificate levels and higher vocational certificate level between 2016 and 2017. To identify the sample, Stratified Random Sampling technique had applied to identify the student academic program before the researcher used Simple Random Sampling technique. In addition, 45 people who were administrators, teachers and student advisors as well as 25 parents were purposively selected to share ideas for improving the situation. The data collection instrument was a five-point-rating-scale questionnaire with 60 question items. The item discrimination power of this questionnaire was between .30-.91and its reliability was .91. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, Mean, Standard Deviation (SD), t-test, and One-Way ANOVA. This study reports the following findings: 1. The dropout problem of vocational students of Chonburi Vocational College was found at a moderate level both overall and in each particular aspect. The top three factors leading to student dropout were 1) personal reasons, 2) college, and 3) teachers. 2. There was no statistical significant difference toward the factors causing student dropout when comparing the scores rated by the academic levels which students dropped out. However, there was statistically significant different of the score concerning different environment. Students dropping out from the vocational certificate level rated a higher difficulty about environment than students dropping out from the higher vocational certificate level did. Students dropping out from different academic program showed no statistically significant different toward their dropout factors. 3. To improve the student dropout situation, 1) the college should assist students to grow their vocational skills at their best; 2) the college should work collaboratively with parents, 3) workplaces should assist students closely and train them to have responsibility, practice self-discipline and have good attitude toward studying in their vocational field
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57920478.pdf1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น