กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8698
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาวิธีในการจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลชุมชนเขตบริการสุขภาพที่ 2 (พิษณุโลก) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The procurement methods development for medicl supplies of the community hospitls public helth region 2 (pitsnulok) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุปราณี ธรรมพิทักษ์ พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต มนูญ บุญนัด มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วัสดุทางการแพทย์ วัสดุ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคและพัฒนาวิธีในการจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลชุมชนเขตบริการสุขภาพที่ 2 (พิษณุโลก) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 72 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล/ นายแพทย์สาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายบริหาร หัวหน้างานพัสดุ หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล คณะกรรมการกำหนดสเปค และคณะกรรมการตรวจรับ ผลการศึกษาพบว่า วิธีตกลงราคา สภาพปัจจุบันการจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลชุมชนบริการสุขภาพที่ 2 (พิษณุโลก) พบว่า การดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ปัญหาอุปสรรค พบว่า กฎระเบียบในการปฏิบัติไม่ชัดเจนมีขั้นตอนหลายขั้นตอน ในอนุมัติเกิดความล่าช้ามีระยะเวลาจำกัดในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างการพัฒนา วิธีตกลงราคา ประกอบด้วย ผู้เสนอราคาแหล่งข้อมูลไม่น้อยกว่า 3 ราย ไม่พิจารณาราคาถูกเพียงอย่างเดียว วัสดุครุภัณฑ์ตรงกับความใช้งานผู้ใช้งาน รายงาน e-GP ให้เป็นปัจจุบันยกเลิกบันทึกเอกสาร เบิกจ่ายตรงจากสำนักงบประมาณ และยกเลิกเงินสนับสนุนสวัสดิการ วิธีสอบราคา สภาพปัจจุบัน พบว่า วงเงินในการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท ตามระเบียบพัสดุ พ.ศ. 2535 ปัญหาอุปสรรคพบว่า ระเบียบปฏิบัติไม่ชัดเจน มีระยะเวลาจำกัดในกระบวนการจัดซื้อ อีกทั้งปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระบบที่ล่าช้าไม่เสถียรและกรอบกำหนดระยะเวลาในการบันทึกข้อมูล การอนุมัติงบประมาณช้ากว่าแผนงบประมาณประจำปี การพัฒนาวิธีสอบราคา ประกอบด้วย เปิดกว้างวิจารณ์ร่าง TOR (แบบลับ)/ ผู้ขายร้องเรียนแบบลับ คณะกรรมการกำหนดสเปค (อิสระ เปิดเผย) เบิกจ่ายตรงจากสำนักงบประมาณ มาตรการลงโทษที่รุนแรงเมื่อมีการทุจริต วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Market สภาพปัจจุบันพบว่า โรงพยาบาลชุมชน ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้วิธีวิธีนี้ การพัฒนาวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอสิกส์ (e-bidding) ประกอบด้วย คณะกรรมการตัวแทน (อิสระ) เป็นกลางกำหนดสเปค ผู้ไม่มีผลประโยชน์ร่วมวิจารณ์ร่าง TOR (แบบลับ) กำหนดหลักประกันการยื่นซองเกิน 1,000,000 บาท/ โครงการ วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Bidding สภาพปัจจุบัน พบว่า กระบวนการการได้มาของงบประมาณถูกเสนอจากระดับล่างขึ้นบน ในกระบวนการ e-GP ที่มีขั้นตอนมากเชื่อว่าเป็นกลางไม่เอื้อต่อบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ในเรื่องระยะเวลามีความคุ้มค่า ครุภัณฑ์ที่ได้ไม่สอดคล้องกับงบปรเมาณมีความเป็นกลางเปิดกว้างสามารถวิจารณ์ร่างสเปค (TOR) ปัญหาอุปสรรค พบว่า ระบบไม่สามารถป้องกันในความโปร่งใสและตรวจสอบ, ระบบอินเทอร์เน็ตช้า โปรแกรมไม่รองรับขาดอุปกรณ์สนับสนุน การพัฒนาวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Bidding ประกอบด้วย สถานที่เก็บประเมินอัตราการใช้ใน 1 ไตรมาส เปิดกว้างให้ผู้ค้ารายย่อย (ท้องถิ่น) เบิกจ่ายตรงจากสำนักงบประมาณ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8698 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57810222.pdf | 13.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น