กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/868
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาหลักสูตรการให้การปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of the training curriculum on HIV couple counseling in antenatal care |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัตนา เพชรพรรณ วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์ พิศมัย หอมจำปา จินตนา วัชรสินธุ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การติดเชื้อเอชไอวี - - วิจัย สตรีมีครรภ์ - - การให้คำปรึกษา โรคเอดส์ - - การให้คำปรึกษา โรคเอดส์ในสตรีมีครรภ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการให้การปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาหลักสูตร โดยให้ ผู้เข้าอบรมที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสุขภาพและบริการฝากครรภ์จำนวน 6 รุ่น รวมทั้งสิ้น 251 คน มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตร จัดทำขึ้นในระหว่างเดือนกันยายน 2550 ถึงกุมภาพันธ์ 2552 ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) การประเมินเนื้อหาหลักสูตร โดยสุมตัวอย่างแบบเจาะจงของผู้เข้ารับการฝึกอบรมรุ่นที่ 1-3 (n = 40 คน) ใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มเฉพาะ 2) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เข้ารับการฝึกอบรมรุ่นที่ 4-6 ใช้แบบทดสอบความรู้ (n = 117 คน) 3) การประเมินความพึงพอใจในการเข้ารับการฝึกอบรมรุ่นที่ 2-6 ใช้แบบประเมินผลหลังการอบรม (n = 218 คน) ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. หลักสูตร สามารถสอนให้ผู้เข้าอบรมนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริง มีเนื้อหา แผนการสอน ที่มีความทันสมัย ชัดเจน และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันสามารถนำไปใช้ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสจริง 2. ปัจจัยนำเข้า ผู้อบรมมีความรู้และทักษะในการให้การปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ ในระดับดีและดีมากจากแบบประเมินผลความรู้ก่อนและหลังการอบรม และจากแบบทดสอบความรู้พบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรมเพิ่มขึ้นทุกรุ่น วิทยากรทุกคนมีคุณสมบัติ ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการสอนเป็นอย่างดียิ่ง ส่วนสิ่งสนับสนุนการอบรม ได้แก่ เอกสารประกอบการสอน วีซีดี ส่วนใหญ่มีความเหมาะสมดี 3. กระบวนการ กระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลมีความเหมาะสมกับแผนการสอน วัตถุประสงค์ เนื้อหา และผู้เข้าอบรม ส่วนกิจกรรมการพัฒนาผู้เข้าอบรมมีความเหมาะสมดีมาก 4. ผลผลิตและผลลัพธ์ หลังการเข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะในการให้การปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์อยู่ในระดับดีมาก และทุกคนเห็นว่า บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากหลักสูตรมีประโยชน์ต่อตนเอง ผู้รับบริการ และหน่วยงานรวมทั้งมีความพึงพอใจในหลักสูตรระดับดีมาก และนำไปใช้ให้บริการในสถานบริการในภาคตะวันออกถึง 25 แห่ง พบว่ามีคู่สามีภรรยารายใหม่มารับบริการฝากครรภ์คิดเป็นร้อยละ 25.4 ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความชัดเจน ความครอบคลุมและความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหาปัญหาของหลักสูตรการปรึกษากับเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ ทั้งในด้านเนื้อหาและวีธีการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งความเป็นไปได้ในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการให้บริการ ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรด้านสุขภาพสามารถให้บริการเพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของครอบครัว นอกจากนี้ หน่วยงานหรือโรงพยาบาลสามารถนำหลักสูตรไปใช้เป็นคู่มือเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการการปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ได้อีกด้วย สำหรับศูนย์อนามัยเขตหรือหน่วยงานอื่นที่ต้องการนำหลักสูตรไปใช้ควรปรับเนื้อหาในแผนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/868 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_038.pdf | 14.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น