กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8654
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One health ไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors leading to successful implementation of one health startegy to address rabies (Rabies free zone) at Khao Sam Sip sub-district, Khao Chakan district, Sa Kaeo province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญญาดา กระจ่างแจ้ง ปิยะ จำรัส มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | โรคพิษสุนัขบ้า มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One Health ไปปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) และเพื่อถอดบทเรียนรูปแบบความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One health ไปปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 ระดับ คือระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล จำนวน 14 ท่าน และประชาชน 4 หมู่บ้าน จำนวน 13 คน รวมจำนวน 27 คน การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้การวิเคราะห์เชิงปรากฎการณ์วิทยา โดยวิธีการของเลียวนาร์ด (Leonard’s method) โดยการหาสาเหตุที่พยายามเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One health ไปปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย 8 ปัจจัยคือ 1) ความเข้มแข็ง 2) การมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ทรัพยากร 4) การสื่อสาร และการประชาสัมพันธ์ 5) ภาคีเครือข่าย 6) การสนับสนุนความรู้ 7) การสร้างมาตาฐานในชุมชน และ 8) การเข้าถึงการบริการทางการรักษาและพบว่า การถอดบทเรียนรูปแบบความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One health ไปปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เกิดจากเครือข่ายมีการบูรณาการความร่วมมืออย่างมีส่วนร่วมทั้ง 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สาธารณสุข ปศุสัตว์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงานตามกลไกการทำงานในระดับพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน โดยการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงของทุกฝ่าย สามารถกระตุ้นสร้างความตระหนักให้ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8654 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59710059.pdf | 3.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น