กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8646
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
dc.contributor.authorกชพรรณ จึงตระการ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:07:11Z
dc.date.available2023-06-06T04:07:11Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8646
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรและปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานเจนเนอเรชั่นวายบริษัทผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี จำนวน 324 คน โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และทำการศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย โดยทำการศึกษากับผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 1 คน และหัวหน้างานที่รับผิดชอบในส่วนของงานฝ่ายผลิต จำนวน 6 คน โดยการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสถิติ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน พบว่า พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่า พนักงานเจนเนอเรชั่นวาย มีความผูกพันต่อองค์กร ด้านความรู้สึกมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบรรทัดฐานทางสังคม และน้อยที่สุด คือ ด้านความต่อเนื่อง เมื่อทำการพิจารณาปัจจัยปัจจัยที่มีผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กร พบว่าพนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันจะมีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน ปัจจัยด้านความคาดหวังในการทำงาน 9 ด้าน และปัจจัยด้านแรงบันดาลใจในการทำงาน 5 ด้าน ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย โดยแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย ในครั้งนี้ผู้วิจัยนำเสนอ โมเดล “4G MODEL” คือการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร ประกอบด้วยการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับพนักงาน การจัดสรรงานที่เหมาะกับพนักงานเจนเนอเรชั่นวายการจัดกิจกรรมเพื่อหล่อหลอมให้เกิดความสามัคคีระหว่างพนักงานและค่าจ้าง สวัสดิการจะต้องสามารถแข่งขันได้กับตลาดแรงงานในกลุ่มเดียวกัน
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การ
dc.subjectพนักงานบริษัท -- การทำงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
dc.titleความผูกพันของพนักงานเจนเนอเรชั่นวายของบริษัทผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeOrgniztionl commitment of genertion Y employees working in n utomtive prt compny in Amt City industril estte, Chon Buri province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study attempts to study the level of organizational commitment and factors contributing to organizational commitment. The subjects were 324 Gen Y employees working in automotive part company in Amata Industrial Estate, Chon Buri Province. The data were collectedusing questionnaires and to study a guideline to enhance organizational commitment of Gen Y employees. The key informants including a human resource manager and 6 supervisors in production line were also collected by using in-depth interviews. The data were analyzed using one-way ANOVA and multiple regression analysis with stepwise regression procedure. The findings reveal that employees possessed organizational commitment at the moderate level. In fact, Gen Y employees earned emotional aspect in organizational commitment the highest. The lower rank was social norms whilst the least rank was continuality aspect. When considering in each aspect, it was found that employees with different personal factors possessed different degree of organizational commitment. Regarding 9 aspects of work expectation, 5 dimensions of work motivation affecting the change in organizational commitment of Gen Y employees, the management guideline of organizational commitment for Gen Y employees was 4G MODEL. The management to enhance organizational commitment consists of planning in human resource in accordance with employees, appropriate allotment for Gen Y employees, holding activities that could harmonize all employees. Also, the wage, fringe benefit could compete in labor market in the same type of business
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59710041.pdf4.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น