กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8635
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมนโยบายและแนวทางปฏิบัติการท่องเที่ยวในแม่น้ำโขงของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The guideline for promoting mekong tourism policies nd prctices in thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชนนี เมธิโยธิน
วิสันต์ ลมไธสง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
การท่องเที่ยว -- การตลาด
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
การท่องเที่ยว -- การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมนโยบายและแนวทางปฏิบัติการท่องเที่ยวในฝั่งแม่น้ำโขงของประเทศไทยโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method research) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้ประกอบการรวมถึงใช้แบบสอบถาม ความคิดเห็นนักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวในแม่น้ำโขง จำนวน 400 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยว ได้แก่ 1) สนับสนุน นโยบายและงบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก 2) พัฒนาศิลปวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและจัดตั้งคณะกรรมการจากภาครัฐเข้ามาดูและบริหารจัดการร่วมกับชุมชน 3) สนับสุนผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้ความรู้กับชุมชน 4) เพิ่มการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และจัดทำข้อมูลอย่างเพียงพอและเข้าถึงได้ง่าย5) สร้างความร่วมมือระหว่างรัฐเอกชนและชุมชน ในการพัฒนาภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว 6) ส่งเสริมการฝึกอบรมให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติ ด้านการท่องเที่ยวให้กับผู้ประกอบการและชุมชน 7) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้านความสะอาด เป็น ระเบียบเรียบร้อย และปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยวแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติการท่องเที่ยว ได้แก่ 1) สนับสนุนผู้ประกอบการเรือนำเที่ยวในการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs เพื่อการท่องเที่ยว 2) ส่งเสริมให้ชุมชนและผู้ประกอบการให้การบริการกับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดีมีน้ำใจไมตรีช่วยประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 3) ปรับปรุงสภาพของเรือให้บริการนำเที่ยวเพื่อให้ปลอดภัยสวยงามและน่าใช้งานเสมอ 4) ปรับปรุงเส้นทางการเดินเรือและค้นหาเส้นทางใหม่ ๆ 5) เน้นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในแม่น้ำโขง เพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นความแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยว ประเภทอื่นอย่างชัดเจน 6) รณรงค์และเอาจริงเอาจังกับการบริหารจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรมและเกิดประสิทธิผล 7) เน้นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับที่พักโรงแรมสถาปัตยกรรมต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมการท่องเที่ยวให้กลมกลืนกับชุมชน มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว 8) กำกับดูแลบริการนำเที่ยวจัดระเบียบและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ผ่าน ความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองท้องถิ่นผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8635
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56870048.pdf8.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น