กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8627
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการเรียนรู้ระบบการตลาดและการขายแบบง่าย เพื่อประชาชนท้องถิ่นไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Simple lerning mrketing nd sles systemsfor thi people |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บรรพต วิรุณราช กชพร นรมาตย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การตลาด การขาย -- การจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ การตลาด -- การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้ระบบการตลาดและการขายแบบง่ายเพื่อประชาชนท้องถิ่นไทยโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการจัดสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูลคือ นักการตลาด จำนวน 3 คน นักขายจำ นวน 4 คน และผู้อำนวยการพื้นที่มูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน 2 คน รวมเป็น 9 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อวัดระดับความเข้าใจกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 6 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน รวมเป็น 120 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบคู่มือการเรียนรู้ระบบการตลาดและการขายแบบง่ายเพื่อประชาชนท้องถิ่นไทยควรประกอบไปด้วยแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการตลาด และการขายแบบง่าย สำหรับประชาชนท้องถิ่นไทย จำนวน 2 ชุด รวมทั้งหมด 11 เรื่อง สรุปแยกตามหลักการตลาด ได้ดังนี้ ข้อมูลชุดที่ 1 แนวคิดทฤษฎีการตลาด 4 P ได้แก่ 1. ด้านสินค้า 2. ด้านราคา 3. ด้านสถานที่จำ หน่ายสินค้า 4. ด้านวิธีการกระตุ้น ให้เกิดการสนใจและการตัดสินใจซื้อ ซื้อสินค้าและกลับมาซื้อซ้ำ ข้อมูลชุดที่ 2 แนวคิดทฤษฎีการตลาดแบบ PDB ได้แก่ 1. ต้องกำหนดว่า ควรขายสินค้าให้ใคร 2. การสร้างความแตกต่าง 3. วีธีการให้คนจดจำสินค้าแนวคิดทฤษฎีการขาย ได้แก่ 1. การเปิดใจผู้ซื้อ 2. การปิดการขาย, แนวคิดทฤษฎีการตลาดองค์รวม (The holistic market concept) ได้แก่ การให้ความสนใจทุกคนที่อยู่รอบสินค้าหรือผลผลิต เช่น สมาชิกครอบครัว เพื่อนบ้าน คนที่มารับสินค้าไปขายร้านค้าผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันในด้านที่ดีและแนวคิดทฤษฎีสายโซ่แห่งคุณค่า (Value chain) ได้แก่ การคำนึงถึงที่มาของวัตถุดิบที่มีคุณภาพ คือ “ต้นน้ำ” การคำนึงถึงกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ คือ “กลางน้ำ ” และการตลาด การขาย คือ “ปลายน้ำ” การวิจัยเชิงปฏิบัติการผลการศึกษาพบว่า แนวทางการนำแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการตลาด และการขายแบบง่ายไปใช้กับประชาชนท้องถิ่นไทย สามารถแบ่งระดับในการนำไปใช้กับประชาชนท้องถิ่นไทยเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มที่ 1 ใช้ข้อมูลชุดที่ 1 สำหรับประชาชนที่ไม่เคยขายสินค้าจะทำให้สามารถขายสินค้าเป็นและกลุ่มที่ 2 ใช้ข้อมูลชุดที่ 2 สำหรับประชาชนที่ขายสินค้า เป็นประจำจะทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8627 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57870053.pdf | 9.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น