กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8625
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสมรรถนะของนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The competency development of thi locl journlists
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษณา โพธิสารัตนะ
สุรัติ สุพิชญางกูร
ดรัณ วันทิพพา
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
นักหนังสือพิมพ์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบไปด้วย 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไทย และ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะของนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไทยใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในการรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ประจําท้องถิ่นไทย จํานวน 15 ท่าน ระดับหัวหน้าหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการทํางานมากกวา 15 ปีขึ้นไป เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวคิดสมรรถะของนักหนังสือพิมพ์และระเบียบวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการประเมินระดับสมรรถนะนักหนังสือพิมพ์ประจําท้องถิ่นไทยในแต่ละองค์การ จํานวน 350 คน มาวิเคราะห์ประมวลและสรุปผลร่วมกัน ผลการวิจัยสมรรถนะของนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไทย ประกอบด้วย12 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านประสบการณ์ที่ผ่านมา 2) ด้านการเขียนและบรรยายข่าว 3) ด้านทักษะด้านเว็บ/ มัลติมีเดีย 4) ด้านทํางานภายใต้แรงกดดัน เวลาที่จํากัด 5) ด้านความกล้าได้กล้าเสีย 6) ด้านความสามารถในการสื่อสาร 7) ด้านการตัดสินข่าว 8) ด้านความเป็นผู้นํา 9) ด้านความถูกต้อง 10) ด้านทักษะด้านซอฟต์แวร์/ คอมพิวเตอร์ 11) ด้านความคิดสร้างสรรค์ และ 12) ด้านพัฒนาแหล่งข้อมูล ผลการวิจัยเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะของนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไทย พบว่า สมรรถนะทั้ง 12 ด้าน จากการพิจารณาความสอดคล้องของโมเดล ทุกค่าผ่านเกณฑ์การพิจารณาทั้งหมด ได้แก่ ค่า Relative chi-square (χ2 / df) เท่ากับ 0.944 (น้อยกว่า 2) ค่า p-value เท่ากับ 0.876 (มากกว่า 0.05) ค่า RMSEA เท่ากับ 0.000 (น้อยกว่า 0.05) ค่า GFI เท่ากับ 0.911 (มากกกว่า 0.90) และค่า AGFI เท่ากับ 0.888 (มากกว่า 0.85) เมื่อพิจารณา ค่านํ้าหนักขององค์ประกอบ (Factor loading) ทุกค่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (มากกว่า 0.6) และผลการวิเคราะห์การพิจารณาความเหมาะสมของตัวแปรสังเกตได้ของโมเดลการวัดภาพรวม โดยการตรวจสอบความตรงแบบรวมศูนย์ พบว่า ค่าเฉลี่ยความแปรปรวนที่ถูกสกัดได้ (AVE) มีค่ามากกว่า 0.45 ในทุกตัวแปรแฝง และค่าความเที่ยงรวมของแต่ละตัวแปรแฝง (CR) มีค่ามากกว่า 0.6 ในทุกตัวแปรแฝง เช่นเดียวกัน ดังนั้น นักหนังสือพิมพ์ต้องอาศัยการพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อสร้างสรรค์งานข่าวให้มีคุณภาพ ไม่ว่าเป็นการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ การศึกษาหาความรู้ในด้านภาษาสากล การประยุกต์ใช้และนําเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้นนั้น และสิ่งที่สําคัญที่สุดนักหนังสือพิมพ์ต้องมีทัศคติที่ดีต่อการเขียนข่าว คือ การให้ข้อมูลที่เป็นจริงมีจรรยาบรรณเป็นที่ตั้ง คํานึงถึงผลประโยชน์ต่อส่วนร่วมเป็นหลักต่อมาการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้อ่านโดยการวิเคราะห์ประเด็นใหม่ ๆ รูปแบบการเขียนการวิเคราะห์ที่เป็นเฉพาะตน เป็นต้น
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8625
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
52870308.pdf2.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น