กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8612
ชื่อเรื่อง: การสะสมทุนของเครือธุรกิจครอบครัวและความขัดแย้งในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก: กรณีศึกษาบริษัททีพีไอจำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cpitl ccumultion of fmily business group nd the conflict in the estern industril development: cse study of tpi public compny limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุธี ประศาสน์เศรษฐ
ศรายุทธ สรีระพร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
ธุรกิจครอบครัว
การลงทุน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ การสะสมทุนของเครือธุรกิจครอบครัว ความขัดแย้งและปัจจัยที่ทําให้เกิดความขัดแย้งในการสะสมทุน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง กรณีศึกษา บริษัททีพีไอ จํากัด (มหาชน) วิธีวิทยาในการศึกษาจะใช้วิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ การรวบรวมข้อมูลหลากหลายรูปแบบเชิงประสมประสาน เช่น การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ การมีส่วนร่วม ซึ่งผลจากการศึกษา พบว่า ในการสะสมทุนครอบครัว ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์แบ่งออกเป็น สามช่วง ช่วงการสะสมทุนของธุรกิจ ครอบครัว พ.ศ. 2459 –2502 ช่วงการสะสมทุนโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2503 –2536 ช่วงการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พ.ศ.2537 – 2545 โดยเริ่มทําการค้าแบบซื้อมาและขายไป การบริหารจัดการแบบกงสี ต่อมาได้มีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มทุนที่มีอํานาจ ได้รับโอกาสช่วยเหลือจากกลุ่มทุนดังกล่าว จึงมีการขยายธุรกิจ เพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยทุนจากการค้ามาเป็นทุนอุตสาหกรรมและทุนการเงิน ทั้งนี้ในการขยายทุนอุตสาหกรรมได้กู้เงินมาลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเป็นรายแรกของประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่จังหวัดระยอง ในขณะที่มีการขยายกิจการการก่อสร้างและกระบวนการผลิตทําให้เกิดมลพิษทางเสียง อากาศ และน้ำขึ้นทําให้เกิดความขัดแย้งกับประชาชนในชุมชนรอบโรงงานอุตสาหกรรมทีพีไอ ต่อมาเกิดวิกฤติทางการเงินปี 2540 ในประเทศไทย ทีพีไอต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูและเกิดความขัดแย้งในการแย่งอํานาจการบริหารแผนฟื้นฟูระหว่างกลุ่มทุนข้ามชาติ (เจ้าหนี้) กับ เจ้าของกิจการเดิมและกลุ่มทุนรัฐวิสาหกิจจนสุดท้ายกลุ่มทุนรัฐวิสาหกิจเข้ามาบริหารแผนและยังเกิดความขัดแย้งอีกระหว่างผู้บริหาร แผนกับเจ้าของกิจการเดิมและสหภาพแรงงานทีพีไอ มีการฟ้องร้องกันไปมาหลายคดีจนในที่สุดได้เจรจากันตกลงกันได้ ความขัดแย้งต่าง ๆ สิ้นสุดไป ผู้วิจัยพบว่า ในการสะสมทุนธุรกิจครอบครัวตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ ที่ประสพ ผลสําเร็จได้นั้น มีองค์ประกอบที่สําคัญ เช่นการบริหารจัดการที่เป็นสากลใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และทั่วโลก ยอมรับ ต้องบริหารจัดการให้เกิดการหมุนเวียนของทุนให้ครบทั้งสามทุนประกอบไปด้วยทุนการค้าทุนการเงิน และทุนอุตสาหกรรม โดยมี Techno structure ผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้และความสามารถในด้านต่าง ๆ เข้ามาช่วยบริหารจัดการ มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีอํานาจเป็นเกราะป้องกันและสนับสนุน ทั้งนี้ต้องมีอุปทานเงินทุนอย่างเพียงพอในการลงทุน โดยกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนอื่น ๆ อย่างไรก็ตามในการลงทุนทางโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีผลกระทบในด้านมลพิษชีวอนามัยสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ส่วนปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นสามารถ แก้ปัญหาโดยการเจรจาและแบ่งป็นผลประโยชน์ให้เท่าเทียมกันจึงยุติความขัดแย้งได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8612
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56820043.pdf8.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น