กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8590
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจการจับกุมของราษฎร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legl problems of people’s power to rrest |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประลอง ศิริภูล วิเชียร สิมาจารย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กฎหมายปกครอง การบังคับใช้กฎหมาย มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา กฎหมาย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงอํานาจในการจับกุมของราษฎรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมุ่งศึกษาถึงกรณีการจับในความผิดซึ่งหน้าและความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและทําการศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการจับกุมโดยราษฎรตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสโดยเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของประเทศไทยว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ทั้งนี้ยังได้ศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการจับกุมของราษฎรและผลกระทบของการจับกุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และศึกษาถึงมาตรการในการคุ้มครองราษฎรผู้จับกุมในกรณีใช้อํานาจจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมายแต่ถูกปฏิเสธ ต่อสู้ขัดขืนการจับกุมจากผู้กระทําผิดจากการศึกษาพบว่า โดยหลักแล้วอํานาจการจับกุมผู้กระทําผิดนั้นเป็นอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐ แต่เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วยนั้นว่ากฎหมายได้ขยายอํานาจให้แก่ราษฎรสามารถจับกุม ผู้กระทําผิดได้ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ต้องเป็นการกระทําความผิดซึ่งหน้าราษฎรผู้จับ โดยในประเทศฝรั่งเศสและประเทศสหรัฐอเมริกาอํานาจในการจับกุมของราษฎรนั้นจะกว้างกว่าของประเทศไทยมากและอํานาจการจับกุมเทียบเท่ากับเจ้าพนักงานของรัฐโดยถือว่า การจับกุมผู้กระทําผิดซึ่งหน้านั้นเป็นหน้าที่ของราษฎรที่จะพึงกระทําเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ซึ่งทั้งสองประเทศนั้นจะอาศัยหลักเกณฑ์ความผิดโดยพิจารณาถึงอัตราโทษเป็นสําคัญ คือ ความผิดอุกฤษโทษและความผิดมัธยโทษ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา หากความผิดที่กระทําเป็นความผิดที่ฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ราษฎรมีอํานาจจับกุมได้ สําหรับประเทศไทยนั้นอํานาจการจับกุมของราษฎรถูกจํากัดไว้เพียงบางฐานความผิดเท่านั้นตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และฐานความผิดที่ระบุไว้นั้นเป็นฐานความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 จึงก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคและความสับสนในการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการจับกุมของราษฎร จากการศึกษาถึงมาตรการคุ้มครองราษฎรผู้จับกุมนั้นพบว่ ยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติถึงความผิดและโทษที่ชัดเจนที่จะลงแก่ผู้กระทําผิดที่กระทําต่อราษฎรผู้จับกุมโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากเจ้าพนักงานที่มีบัญญัติถึงความผิดที่กระทําต่อเจ้าพนักงานไว้อย่างชัดเจนและมีโทษที่หนักกว่าการกระทําต่อบุคคลทั่วไป จึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการจับกุมโดยราษฎรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงขอเสนอแนะ ดังนี้ 1. ยกเลิกฐานความผิดตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา แล้วบัญญัติเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่เป็นปัจจุบันโดยเพิ่มฐานความผิดที่สําคัญ ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในบัญชี เช่น ความผิดฐานกระทําอนาจาร ความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ ฐานรับของโจร ฐานบุกรุก เป็นต้น 2. เพิ่มบทบัญญัติความผิดและอัตราโทษที่สูงที่เกี่ยวกับการกระทําต่อราษฎรที่ใช้อํานาจตามกฎหมายโดยชอบในการจับกุมผู้กระทําผิดซึ่งหน้าให้เหมือนกับบทบัญญัติความผิดที่กระทําต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาเพื่อเป็นมาตรการในการคุ้มครองราษฎรผู้จับต่อไป |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8590 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
55920875.pdf | 958.27 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น