กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8586
ชื่อเรื่อง: ปัญหาความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญาของไทยในบริบทของอาเซียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of interntionl coopertion regrding the informtion bout criminl offences of thilnd in the context of sen
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรัมภา ไวยมุกข์
ธนานนท์ คัมภีระธัม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: $ความผิดทางอาญา -- ความร่วมมือระหว่างประเทศ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
ความผิดทางอาญา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับข้อจํากัดความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญาของไทยในบริบทของอาเซียน ตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 จากการศึกษาพบว่า กฎหมายฉบับนี้กําหนดหลักเกณฑ์การขอและการให้ความช่วยเหลือกับต่างประเทศ ในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญาต้องคํานึงถึงหลักความผิดสองรัฐ หากกฎหมายภายในของประเทศ ผู้ร้องขอและประเทศผู้รับคําร้องขอไม่มีความผิดสําหรับเรื่องที่มีการขอความช่วยเหลือกันนั้นจะไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่กันได้ ดังนั้น การที่ประเทศไทย นําหลักความผิดสองรัฐมาใช้จึงไม่สอดคล้องกับบริบทของอาเซียนที่แบกรับความท้าทายในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และต้องการความร่วมมือจากประเทศภาคีสมาชิกมากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญา อาทิ ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของผู้กระทําความผิด การขอพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนสืบสวน การขอให้ค้น ยึด อายัด ทรัพย์สินที่เกิดจากการกระทําความผิด เป็นต้น นอกจากนี้ คําร้องขอนั้นต้องไม่ขัดกับกฎหมายภายในของประเทศรับผู้ร้องขอด้วยกรณีที่คําร้องขอนั้นจะเป็นการแทรกแซงการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี หรือการดําเนินการอื่น ๆ เกี่ยวกับคดีอาญา กฎหมาย กําหนดให้ผู้ประสานงานกลาง มีอํานาจพิจารณาเลื่อนการดําเนินตามคําร้องขอออกไปได้ ยังก่อให้เกิดความล่าช้า และกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องทั้งปวง อีกทั้งความแตกต่างกันของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและบริบททางสังคมของประเทศอาเซียน มักส่งผลให้ความร่วมมือดังกล่าวถูกปฏิเสธ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะมิให้ประเทศไทยนําหลักความผิดสองรัฐมาใช้ในเรื่องนี้และมิให้ผู้ประสานงานกลางมีอํานาจพิจารณาเลื่อนการดําเนินตามคําร้องขอโดยพิจารณาจากความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา ประเด็นการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายระหว่างกันทั้งในระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาค ซึ่งพบว่า ถ้าความช่วยเหลือนั้น ไม่เกี่ยวกับการใช้กําลังบังคับ แต่ละประเทศควรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายระหว่างกันแม้ไม่มีหลักความผิดสองรัฐใช้บังคับระหว่างกันก็ตาม เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ ความผิดทางอาญาในขอบข่ายที่กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ประกอบกับข้อแนะนําของ Financial Action Task Force (FATF) ประเด็นการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายระหว่างกัน และอนุสัญญาสหประชาชาติ เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 ที่สนับสนุนความร่วมมือนี้ โดยประเทศภาคีต้องยึดหลักอํานาจอธิปไตย ไม่ก้าวล้ำอํานาจอธิปไตยระหว่างรัฐด้วย นอกจากนี้ เสนอให้ประเทศไทยพัฒนาระบบ ข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศภาคีสมาชิกอาเซียนด้วยกัน และพัฒนาระบบข้อมูลของตํารวจอาเซียน (ASEANAPOL) ของไทยให้เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับบริบทของอาเซียนมากขึ้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8586
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56921186.pdf1.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น