กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8579
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorรัชนี แตงอ่อน
dc.contributor.authorจิราพรรณ จรูญผล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T03:59:44Z
dc.date.available2023-06-06T03:59:44Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8579
dc.descriptionงานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงานเป็นปัจจัยที่สําคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ของลูกจ้างกับนายจ้าง เกิดจากสัญญาแรงงาน ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามกฎหมาย เมื่อลูกจ้างต้องทํางานภายใต้บังคับบัญชาของผู้เป็นนายจ้างนายจ้างย่อมต้องการลูกจ้างที่ตนไว้วางใจ จึงทําให้คุณสมบัติของบุคคลผู้เป็นลูกจ้างเป็นสาระสําคัญ โดยเฉพาะความซื่อสัตย์สุจริตเพราะงานบางประเภท ลูกจ้างจะต้องทํางานใกล้ชิดกับทรัพย์สินของนายจ้าง หรืออาจต้องทําหน้าที่ครอบครอง ดูแลรักษาทรัพย์สินของนายจ้าง รวมถึงอาจต้องเป็นตัวแทนของนายจ้างในการรับมอบทรัพย์สินจากบุคคลอื่นมาให้นายจ้าง หรือส่งมอบทรัพย์สินของนายจ้างให้บุคคลอื่น ลูกจ้างจึงเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับทรัพย์สินของนายจ้างมากกว่าบุคคลอื่น ๆ รวมถึงอาจใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตนกับนายจ้างฉกฉวยเอาผลประโยชน์ที่ควรเป็นของนายจ้างไปเป็นของตนเอง ประมวลกฎหมายอาญามีการกําหนดฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยกําหนดบทลงโทษลูกจ้างที่กระทําผิดต่อนายจ้างหนักกว่าโทษของบุคคลทั่วไปหรือที่เรียกว่าเหตุฉกรรจ์ ในความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 โดยมาตรา 335 กําหนดให้ผู้กระทําผิดรับโทษหนักขึ้น หากเป็นการลักทรัพย์ของนายจ้างหรือทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้างตามอนุ 11 เหตุผลคือลูกจ้างอยู่ใกล้ชิดกับทรัพย์สินของนายจ้างมากกว่าบุคคลอื่น ย่อมมีโอกาสกระทําความผิดต่อทรัพย์ได้มากกว่า บุคคลอื่น ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ เหตุใดความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 ที่บัญญัติให้ผู้ที่ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หากเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปเป็นของตนเอง หรือบุคคลอื่นที่สามโดยทุจริต เป็นความผิด เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับความผิดฐานลักทรัพย์ จะเห็นได้ว่าความผิดฐานยักยอกไม่มีการกําหนดให้การกระทําความผิดของลูกจ้างมาต้องรับโทษหนักขึ้น ในทางข้อเท็จจริง การที่ลูกจ้างเอาทรัพย์สินของนายจ้างไปโดยทุจริตย่อมเป็นความผิดแต่หากทรัพย์ที่ถูกเอาไปนั้นอยู่ในความครอบครองของนายจ้าง ลูกจ้างจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ถ้าทรัพย์อยู่ในความครอบครองของลูกจ้าง ลูกจ้างจะมีความผิดฐานยักยอก ทั้ง ๆ ที่ความผิดทั้งสองฐานลูกจ้างประสงค์เอาทรัพย์ของนายจ้างไป อันเป็นการทําลายกรรมสิทธิ์ของนายจ้าง เช่นเดียวกันและลูกจ้างอยู่ในฐานะที่จะกระทําความผิดได้ง่ายกว่าบุคคลอื่นและเป็นการทําลายความไว้วางใจของนายจ้าง เช่นเดียวกัน ผู้วิจัยพบว่า ในกฎหมายต่างประเทศมีการบัญญัติความผิดฐานยักยอกไว้แตกต่างกัน เช่น กฎหมายมลรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุความผิดของลูกจ้างที่ยักยอกทรัพย์ของนายจ้างไว้โดยเฉพาะ หรือในกฎหมายสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่วางหลักกฎหมายอาญาเรื่องยักยอกโดยเน้นที่หลักความไว้วางใจเป็นพิเศษ ส่วนกฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนีซึ่งกําหนดความฐานยักยอกไว้ 2 ลักษณะ คือ ความผิดที่เป็นเรื่องเบียดบัง และความผิดที่เป็นเรื่องไว้วางใจ ในขณะที่กฎหมายสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นระบบคอมมอนลอว์ ไม่มีการกําหนดความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นลักทรัพย์หรือยักยอกเพราะมีแนวคิดว่า ต่างเป็นการกระทําเพื่อให้ได้ทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบเช่นกัน แตกต่างกันเพียงวิธีการเพื่อให้ได้ทรัพย์ไปเท่านั้น จากการวิจัย ผู้วิจัยเห็นว่าความผิดฐานยักยอกในกรณีลูกจ้างยักยอกทรัพย์นายจ้างเป็นการกระทําที่ฉวยโอกาสจากความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างนายจ้างที่อยู่หลักแห่งความไว้วางใจ การที่ลูกจ้างทําความผิดเป็นการทําลายความไว้วางใจของนายจ้าง จึงควรกําหนดให้ลูกจ้างรับโทษหนักขึ้นกว่าการกระทําผิดของบุคคลอื่น โดยกําหนดความผิดฐานยักยอกทรัพย์นายจ้างไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก ดังนี้ “มาตรา 352/1 ผู้ใดยักยอกทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง ต้องระวางโทษจําคุก.....................หรือปรับ............................ หรือทั้งจําทั้งปรับ” ทั้งนี้เป็นการแก้ไข เพื่อให้ผู้เป็นลูกจ้างมีความยับยั้งชั่งใจในการคิดที่จะกระทําความผิดมากขึ้น และให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.subjectการขโมย
dc.titleปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดความผิดฐานยักยอกทรัพย์นายจ้าง
dc.title.alternativeLegl issues in imposing employee embezzlement offenses
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeEmployees or workers are important factors in economy.The relationship between employees and employers is based on the labor contract which gives rise to legal rights and obligations.The qualification of the employees whom the employer relies on is significant. Honesty, in particular, is the key due to the fact that employees must work closely with the employer's assets,keep the employer's assets, represent his employer to receive property from the third party to the employer or to hand over the property of the employer to the third party. Since the employee is more closely related to the employer's assets than any other persons, he may take advantage of his employer's interestswithout difficulty. The Criminal Code defines the ground of property offenses by imposing penalties on employees who commit an offense against their employer as a serious offense. Article 334 refers to theft crime while Article 335 makes the offender more punitive in case of theft of the employer orany property in the possession of the employer according to subparagraph 11. The reason is that employees are closer to their employer’s assets than otherswhich leads tohigheropportunity to commit an offense against property.The issue is that, according to Article 352, when embezzlement occurs, there is no provision which makes the offender who is an employee more punitive,unlike provisions regarding theft offenses. Providing the employee takes the employer's property fraudulently, it is an offense. However, if the property taken is in the possession of the employer, the employees are guilty of theft.In case the property is in the possession of the employee, he is guilty of embezzlement. The two offenses; theft and embezzlement, share the same intention of the employee which is to take the property and impair the ownership of the employer by using trust as an access. It is found that embezzlement offenses are coded differently in foreign laws. For instance, Michigan State Law,The United States of America, imposes provisions regarding employee embezzlementspecifically while the law of the Republic of France places the criminal code on embezzlement, emphasizing the principle of trust. In addition, the law of the Federal Republic of Germany imposes two types of embezzlement offenses; one is an act of embezzlement while the other emphasizes a matter of trust. On the other hand, the law of the United Kingdom, a common law system, has nooffense against property.The purpose of both wrongful acts; theft and embezzlement,is todeprive others’ rights in propertyby applying different methods. The researcher found that employee embezzlement is the act that takes advantage of the relationship between employers andemployees which is based on trust. Therefore, employees who commit embezzlement should be more severely punished than any others. Additional provisions should also be added in Criminal Code, Part 12, Section 5 Embezzlement as follows, “Article 352/1One who embezzles the property of his employer must be imprisoned for………………. or ………………..fined or both.” The additional provision is aimed to make employees have more self control and consider carefully before committing a crime against their employers’ property as well as to make law enforcement more effective in accordance with current social conditions
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineกฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
54921117.pdf1.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น