กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8562
ชื่อเรื่อง: การออกแบบสื่อสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น : เจดีย์ของวัดราชบูรณะพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The design for the visully impired: chedi of wt rtburn, yutthy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรดี พันธุภากร
สันติ เล็กสุขุม
เพียงพิศ ชะโกทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
วัดราชบูรณะ
ศิลปะไทย
คนพิการทางสายตา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในประเทศไทยมีผู้พิการทางการมองเห็นประมาณ 600,000 คน ที่ควรให้ความสําคัญ ผู้พิการทางการมองเห็นมีความต้องการที่จะได้รับการปฏิบัติตนเทียบเท่ากับคนปกติทั่วไปเมื่อท่องเที่ยวโบราณสถานนอกจากจะทําให้จิตใจ และอารมณ์แจ่มใสแล้วยังทําให้รู้ถึงคุณค่าและความสําคัญของโบราณสถานที่สะท้อนเรื่องราวในอดีตเป็นข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ และศิลปะไทยอันเก่าแก่เป็นความภาคภูมิใจของคนในชาติ การออกแบบสื่อสําหรับผู้พิการทางการมองเห็นจึงมีความสําคัญ สามารถทําให้การรับรู้ของคนพิการทางการมองเห็นมีความเท่าเทียมกับคนปกติ ทั้งทางด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาโบราณสถานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา เพื่อนําไปใช้ในการออกแบบเจดีย์ทรงต่าง ๆ เพื่อผู้พิการทางการมองเห็นได้สัมผัสรับรู้ เพื่อออกแบบสื่อสําหรับผู้พิการทางการมองเห็นกระตุ้นให้ผู้พิการทางการมองเห็นเกิดจินตภาพทางประวัติศาสตร์ และโบราณสถานในรูปแบบของเจดีย์ทรงต่าง ๆ ของวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา ประเมินผลสําเร็จในการออกแบบสื่อ สําหรับผู้พิการทางการมองเห็น และสําหรับเป็นต้นแบบ และแนวทางในการพัฒนาสื่อ เพื่อความเข้าใจโบราณสถานของผู้พิการทางสายตาใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมและการวิจัยเชิงทดลองผสมผสานเข้าด้วยกัน การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางการมองเห็นมีส่วนร่วม และทดลองการรับรู้ และจินตภาพตามความต้องการของผู้พิการทางการมองเห็นนําข้อมูลรวมรวบเพื่อใช้ในการออกแบบสื่อ และนําสื่อไปใช้ทดลองกับผู้พิการทางการมองเห็นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้พิการทางการมองเห็น ตาบอดแต่กําเนิด และผู้พิการทางการมองเห็นไม่ได้ตาบอดแต่กําเนิด การออกแบบสื่อสําหรับผู้พิการทางการมองเห็น: เจดีย์ของวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา มีเจดีย์ทั้งหมด 4 แบบ คือ ปรางค์ประธาน เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม เจดีย์ทรงปราสาทยอด เจดีย์ทรงระฆัง ผลการศึกษาพบว่าขนาดของสื่อไม่มีผลต่อการสัมผัสของผู้พิการทางการมองเห็น และการบรรยาย ลักษณะของเจดีย์ควรอ้างอิงกับรูปทรงเรขาคณิตจะสามารถทําให้ผู้พิการทางการมองเห็นจินตภาพได้ การออกแบบสื่อแบ่งออกเป็น 2ระดับ ระดับที่ 1 ลดทอนรายละเอียดเพื่อให้ผู้พิการทางการมองเห็น สามารถรับรู้รูปทรงเจดีย์ ระดับที่ 2 เพิ่มรายละเอียดให้เสมือนจริงเพื่อให้ผู้พิการทางการมองเห็นสามารถรับรู้ส่วนต่าง ๆ ของเจดีย์ผู้พิการทางการมองเห็นสามารถเข้าใจสื่อและคุณค่าทางศิลปะและมีความตระหนักภาคภูมิใจในความเป็นไทย และมีจินตภาพในความคิดการทดสอบความเข้าใจของผู้พิการ ทางการมองเห็นหลังจากออกแบบเป็นที่พึงพอใจในระดับดี และได้ประสิทธิผลตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8562
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
54810093.pdf109.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น