กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8553
ชื่อเรื่อง: | นักษัตรและเบญจธาตุ : จินตนาการจากความลวง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Zodic nimls nd five bsic elements: imgintion from deception |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พงศ์เดช ไชยคุตร เทพศักดิ์ ทองนพคุณ อภิชา มันทนวัทน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ จิตรกรรมไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมในแนวเหนือจริงประเภทสื่อผสม เพื่อถ่ายทอดความเชื่ออันเร้นลับเกี่ยวกับนักษัตรและเบญจธาตุ ซึ่งเป็นความเชื่อหนึ่งของสังคมไทยที่ฝังลึกลงในจิตใจมีความยึดมั่นถือมั่นกันมาตลอดจากอดีต จนถึงปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้วิจัยเกิดเป็นแนวความคิดนํามาสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ทางด้าน ศิลปกรรมด้วยข้อมูลที่วิเคราะห์และสังเคราะห์จากศาสตร์ความเชื่ออันเร้นลับ รวมถึงการสัมภาษณ์ศิลปินไทย การวิเคราะห์ผลงานศิลปะของศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศที่สร้างสรรค์ผลงาน จิตรกรรมในแนวเหนือจริง เพื่อนําองค์ความรู้เหล่านั้นมาสังเคราะห์และทัศนะใหม่ของผู้วิจัย นํามาทําการสร้างสรรค์เป็นผลงานชุดนักษัตรและเบญจธาตุ :จินตนาการจากความลวง การดําเนินงานทดลองสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของเบญจธาตุและศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของนักษัตร และความสัมพันธ์ของนักษัตรกับเบญจธาตุ รวมถึงชัยภูมิภายนอกอาคารกับภายในอาคาร ตามหลักการของศาสตร์ฮวงจุ้ยนักษัตรและเบญจธาตุ โดยการแบ่งแยกนักษัตรออกเป็นกลุ่มในแต่ละธาตุ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มนักษัตรและเบญจธาตุ ธาตุดิน ได้แก่ ฉลู มะโรง มะแม จอ ใช้สีเหลืองเป็นหลัก กลุ่มนักษัตรและเบญจธาตุ ธาตุทอง ได้แก่ วอก ระกา จอ ใช้สีทองและสีขาวเป็นหลัก กลุ่มนักษัตรและเบญจธาตุ ธาตุน้ำ ได้แก่ กุน ชวด ฉลู ใช้ สีน้ำเงินเป็นหลัก กลุ่มนักษัตรและเบญจธาตุ ธาตุไม้ ได้แก่ ขาล เถาะ มะโรง ใช้สีเขียวเป็นหลัก และกลุ่มนักษัตรและเบญจธาตุ ธาตุไฟ ได้แก่ มะเส็ง มะเมีย มะแม ใช้สีแดง และสีส้มเป็นหลัก เมื่อได้ผลงานทดลองสร้างสรรค์ ผลสรุปเป็นแนวคิดใหม่ที่ได้จากกระบวนการศึกษา ค้นคว้า จากนั้นผู้วิจัยจึงนําผลการศึกษาค้นคว้ามาสร้างสรรค์ให้เป็นผลงานจริงในชุดผลงาน นักษัตรและเบญจธาตุ :จินตนาการจากความลวง ตามแนวคิดของผู้วิจัย สรุปจากผลการทดลองสร้างสรรค์พบว่า แนวคิดใหม่ที่ผู้วิจัยได้นําความเชื่อของผู้คน อันงมงาย ซึ่งมีต่อนักษัตรและเบญจธาตุ สามารถนํามาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมในแนวเหนือจริงโดยใช้เทคนิคสื่อผสมได้และเกิดเป็นความงามทางด้านทัศนศิลป์ เพื่อสื่อถึงความหมายต่าง ๆ ที่ซ่อนไว้ในผลงานให้ผู้คนต่างได้ตระหนักถึงความเชื่ออันงมงาย ควรอยู่กับความเป็นจริงให้มาก ไม่หลงเชื่อและไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8553 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
56810151.pdf | 303.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น