กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8551
ชื่อเรื่อง: การสร้างสรรค์ศิลปกรรม : กระแสวัตถุนิยมกับการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมในสังคมไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Art inventions : effects of mterilism on behvior chnges in thi society
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิติวรรธน์ สมไทย
ภานุ สรวยสุวรรณ
ณัฐนรี เตียวเจริญกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
สังคมไทย
ศิลปกรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: มนุษย์ให้ความสำคัญกับวัตถุเป็นอย่างมากวัตถุและเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ นับวันยิ่งส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมมนุษย์มากขึ้น มุ่งหาความสุขใส่ตนรักความสบายให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ ยิ่งมีมากเท่าใด ยิ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงฐานะทางสังคมได้ เกิดความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด จึงเกิดเป็นพฤติกรรมที่เคยชินจนลืมความต้องการที่แท้จริง พฤติกรรมนี้แสดงออกมาทางบุคลิกภาพ ลักษณะ ท่าทางในการสื่อสาร ทำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ศิลปกรรม : กระแสวัตถุนิยมกับการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมในสังคม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนำเสนอแนวคิดในภาพศิลปะการจัดวาง (Installation art) ระหว่างชีวิตและวัตถุ สะท้อนค่านิยมโดยใช้การแทนค่าการสร้างรูปทรงโดยนำรูปทรงสิ่งของวัตถุ เครื่องประดับที่ใช้ในชีวิตประจำวันมาดำเนินการโดยใช้วัสดุจากเส้นลวดมาดัดแปลงให้เกิดรูปทรงเลียนแบบวัตถุและแต่งเติมด้วยสัญลักษณ์ที่มนุษย์ให้ความนิยมแสดงถึงกระแสวัตถุนิยม จากการที่ได้เรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์พบว่า มนุษย์มีความลุ่มหลงกับวัตถุนิยมจนเกินความจำเป็นยึดวัตถุว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ถ้าวัตถุเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากจนเกินไป โดยไม่มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจก็จะทำให้ถูกพัดพาไปตามกระแสนิยม เมื่อรู้ตัวอีกทีก็อาจตกเป็นทาสของวัตถุอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ดังนั้น เราจึงควรมีสติเข้าใจถึงสังคมที่เปลี่ยนไป รู้จักตนเองรู้จักพอประมาณและรู้จักพอเพียง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8551
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56920640.pdf2.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น