กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8544
ชื่อเรื่อง: การอนุรักษ์และพัฒนาการแสดงลำตัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The conservtion nd development of the lm td performnce
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญชู บุญลิขิตศิริ
บุญเดิม พันรอบ
ญาณวดี ขำพิจิตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ลำตัด
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการแสดงลําตัด สภาพ ปัญหาของการแสดงลําตัดในปัจจุบัน และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาการแสดงลําตัดตามความคิดเห็นของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยรวมจํานวน 14 คน ได้แก่ หัวหน้าคณะและนักแสดงลําตัด ดังนี้คณะลําตัดมหาบัณฑิตไฉนลูกเมืองมีน คณะ ส. บงกชอยุธยาคณะจรัญบ่อตะโล่และคณะชาญชัยศิษย์หวังเต๊ะโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและนําเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าการแสดงลําตัดแรกเริ่มเป็นการสวดสรรเสริญพระเจ้าของศาสนา อิสลาม ด้วยภาษามลายูโดยสวดเข้ากับจังหวะรํามะนามีผู้เล่นเป็นเพศชายทั้งหมดเริ่มเป็นที่รู้จัก ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นักแสดงลําตัดส่วนใหญ่ฝึกหัดลําตัดมาจากครูเพลงลําตัด ระดับการศึกษาของนักแสดงลําตัดมีหลากหลายส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระยะเวลาที่ใช้ในการแสดงลําตัดในปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ (1) ระยะเวลามาตรฐาน คือ 3-4 ชั่วโมง (2) ระยะเวลาตามการตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างและทางคณะในหนึ่งคณะมีจํานวนนักแสดง ลําตัด 6-8 คน และนักดนตรี 4คน สภาพปัญหาของการแสดงลําตัดในปัจจุบันประสบปัญหา นักแสดงลําตัดมีน้อยเพราะส่วนใหญ่นั้นไม่มีผู้สืบทอดการแสดงและนักแสดงลําตัดเสียชีวิตไปตามกาลเวลาช่องทางในการติดต่อคือทางโทรศัพท์และไม่มีหน่วยงานอื่น ๆ ช่วยเหลือในด้านการประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์การแสดงลําตัดยังคงการอนุรักษ์การแสดงลําตัดเป็นแบบดั้งเดิม คือ (1) ทํานองวิธีการร้องและมีลําดับขั้นตอนการแสดง (2) เครื่องดนตรี จํานวน 4 ชนิด คือ รํามะนา ฉิ่ง ฉาบ และกรับ และมีการอนุรักษ์แบบประยุกต์ คือ การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้สอดคล้องกับสังคม ปัจจุบันหรือปรับเนื้อร้องและทํานองให้เข้ากับผู้ชมการพัฒนาการแสดงลําตัดมีการพัฒนาเนื้อหา การแสดงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องแต่งการให้มีสีสันสดใสใช้ผ้าปัก ดิ้นทองปักเลื่อมเพื่อทําให้เกิดความสวยมากขึ้นและมีการพัฒนาแหล่งเผยแพร่ข้อมูลโฆษณา ประชาสัมพันธ์การแสดงลําตัดโดยการใช้สื่อสังคมออนไลน์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8544
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56920656.pdf21.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น