กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8541
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภูวษา เรืองชีวิน
dc.contributor.advisorมนัส แก้วบูชา
dc.contributor.authorงามนิส เขมาชฎากร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T03:53:49Z
dc.date.available2023-06-06T03:53:49Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8541
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ๑.) ศึกษาพัฒนาการหนังกลางแปลง และแนวทางการบริหารจัดการ กรณีศึกษา กาเหว่าภาพยนตร์ และท่าพระภาพยนตร์ (พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๕๙) ๒.) เพื่อศึกษาคุณค่า และความสำคัญของหนังกลางแปลงที่มีต่อสังคมไทย ๓.) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารการดำรงอยู่ และนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์หนังกลางแปลงอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และจากการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อศึกษาประชากรตัวอย่าง จำนวน ๒ กลุ่ม คือ คณะหนังกลางแปลงกาเหว่าภาพยนตร์ และท่าพระภาพยนตร์ โดยขั้นตอนการเรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ หลักการจัดการความรู้ หลักการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักการบริหารงานภาพยนตร์ และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารองค์กร ผลการวิจัย พบว่า คณะกาเหว่าภาพยนตร์ และท่าพระภาพยนตร์ มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการในยุคกิจการหนังกลางแปลงเฟื่องฟู พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๙ และยุคปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยในภาพรวมมีการปรับเปลี่ยน ๑.) รูปแบบการบริหารงานภาพยนตร์ ๒.) การบริหารจัดการด้านกระบวนการฉายหนังกลางแปลง ๓.)การบริหารจัดการบุคลากร และ ๔.) การบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์หนังกลางแปลง โดยเหตุอันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการมาจากปัจจัย ๖ ประการ คือ ๑.) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ๒.) ปัจจัยด้านการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตอล และปัญหาลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ๓.) ปัจจัยด้านพัฒนาการทางเทคโนโลยีของโรงภาพยนตร์ ๔.) ปัจจัยด้านสื่อบันเทิงที่เข้าถึงที่พักอาศัย ๕.) ปัจจัยด้านบรรยากาศในการรับชมภาพยนตร์ และ ๖.) ปัจจัยด้านข้อตกลงเรื่อง พื้นที่จัดฉายหนังกลางแปลงระหว่างบริษัทในเครือผู้จัดจำหน่าย (สายหนัง) และผู้ประกอบการหนังกลางแปลง ผลการศึกษาคุณค่า และความสำคัญของหนังกลางแปลงที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พบว่า หนังกลางแปลงมีคุณค่า และความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑.) เป็นสื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมของชนชาติอื่น ๒.) เป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมการซื้อ-ขาย สินค้าอุปโภค บริโภค หรือยารักษาโรคที่จำเป็นต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในสังคมไทย ๓.) เป็นสื่อที่สร้างความผูกพันอันดีระหว่างผู้ชมภาพยนตร์ และนักพากย์หนังกลางแปลง และ ๔.) เป็นมหรสพที่นิยมนำมาใช้เป็นสิ่งแก้บนในพิธีกรรมแก้บน จากผลการศึกษาข้างต้นนำมาสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการดำรงอยู่ และการอนุรักษ์หนังกลางแปลงอย่างยั่งยืน ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมหนังกลางแปลง การสร้างค่านิยมในสังคม การสร้างจิตสำนึกในการคัดสรรภาพยนตร์แก่บุคลากรในอุตสาหกรรมหนังกลางแปลง การสร้างจรรยาบรรณด้านการตลาดภาพยนตร์ การส่งเสริมการศึกษาอุตสาหกรรมหนังกลางแปลง การอนุรักษ์ วัตถุทางด้านหนังกลางแปลง และการอนุรักษ์พิธีกรรมแก้บน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectภาพยนตร์ไทย
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.titleพัฒนาการหนังกลางแปลง และแนวทางการบริหารจัดการ กรณีศึกษา กาเหว่าภาพยนตร์ และท่าพระภาพยนตร์ (พ.ศ.2530-2559)
dc.title.alternativeOutdoor cinem development nd dministrtion nd mngementcse study kwhow film nd t phr film in 1987 – 2016 .d.
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis qualitative research had the primary objectives to: 1) study the development of outdoor cinema as well as its administration and management, in the case study of Kawhow and Ta Phra films (1987-2016), 2) examine the value and importance of outdoor cinema to Thai society; and 3) study the management of perpetuation and present methods to conserve outdoor cinema in a sustainable way. This research employed the method of data collection from documents and field study in order to examine two groups of sample population and comprising of the teams from Kawhow film and Ta Phra film. The compilation and analysis of data were performed based on the principles of cultural system for quality management, knowledge management, education as sustainable development, and film business management as well as conceptual framework on the organizational management. The results indicated that the teams from Kawhow film and Ta Phra film had changed their management strategies in the booming era of outdoor cinema during 1987-1996 and in the modern era of 2016. In overall, such changes include: 1)the style of film management, 2) the process management in projecting the outdoor cinema, 3) human resource management; and 4) management of public relations of outdoor cinema. The factors that led to the change in the management system comprise of 6 elements: 1) economical factor, 2) digitalization and copyright issues of films, 3) technological development of cinema, 4) home-entertainment accessibility, 5) atmosphere in watching the film;,and 6) agreement on the area for projecting outdoor cinema between the subsidiaries of the distributor (of films) and outdoor cinema entrepreneurs. ช Upon examining the value and importance of the outdoor cinema to the lifestyles of Thai people from the past until present, it was evident that the outdoor cinema had 4 elements of value and importance, which include: 1) an educational tool for learning the culture of other nationalities, 2) a media that promotes purchase-sales of consumer goods or medicines that are necessary for the way of life and the livelihood of the Thai society, 3) a media that creates positive relationship between the audience and the voice actor, and 4) an entertainment that is commonly used in the rituals. The aforementioned results had led to the recommendations on the perpetuation and sustainable conservation of outdoor cinema, which include human development resources in the outdoor cinema industry, social values creation, instill consciousness in the minds of the personnel in the outdoor cinema industry regarding the film selection process, ethics in film marketing creation education promotion in the outdoor cinema industry, and materials conservation forpertaining to the outdoor cinema as well as the ritual ceremonies.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56920655.pdf4.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น