กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8534
ชื่อเรื่อง: | การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาอันฮุยหวงซานเหมาเฟิงตามแนวคิดสโลว์ดีไซน์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The pckging design of n hui hung shn mo feng te ccording to the slow design theory |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อินทิรา พรมพันธุ์ บุญชู บุญลิขิตศิริ ลู,หยาง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ Lu, Yang |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ -- จีน บรรจุภัณฑ์ -- การออกแบบ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามแนวคิด สโลว์ ดีไซน์และนำความรู้ที่ได้มาออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาอันฮุยหวงซานเหมาเฟิงโดยปรับปรุงให้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แสดงออกถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นแต่โบราณ ทั้งยังช่วยให้เกิดการสื่อสารแลกเปลี่ยนอารมณ์ระหว่างกันของผู้ใช้งานและตัวผลิตภัณฑ์ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่พบในปัจจุบัน เช่นปัญหาบรรจุภัณฑ์ที่สิ้นเปลืองเกินจำเป็น และยังช่วยเผยแพร่แนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามแนวคิด สโลว์ ดีไซน์อันเป็นแขนงหนึ่งของทฤษฎี สโลว์ มูฟเมนต์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น หลังเสร็จสิ้นการวิจัยผู้วิจัยยังพบว่าการออกแบบตามแนวคิด สโลว์ ดีไซน์เหมาะสมกับวัฒนธรรมการดื่มชาของจีนเป็นอย่างมาก ในการวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการลงพื้นที่เข้าสำรวจสถานที่จริงที่เขาหวงซาน แหล่ง เพาะปลูกชาหวงซานอันฮุยเหมาเฟิง ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบของสุดยอดชาสำหรับประเทศจีน และได้นำขั้นตอนกระบวนการผลิตใบชาเหมาเฟิงด้วยแรงงานคนตามแบบโบราณมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในงานออกแบบชิ้นนี้โดยผู้วิจัยได้คำนึงถึงหลักการนำมาใช้ซ้ำ และหลีกเลี่ยงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุสิ้นเปลืองเกินความจำเป็นเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ผู้วิจัยยังได้ดำเนินการสำรวจเพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่มีรูปลักษณ์และประโยชน์การใช้ สอยที่สอดคล้อง ตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคได้มากที่สุด ผู้วิจัยได้สำรวจความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และกลุ่มผู้บริโภคซึ่งเป็นชาวบ้านในท้องถิ่น จำนวน 67 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในตัวบรรจุภัณฑ์ที่ครอบคลุม โดยในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มช่วงอายุ 15-30 ปี รวมทั้งสิ้น 28 คน ให้คะแนนเฉลี่ยความพอใจอยู่ที่ 4.52 (พอใจมากที่สุด) 2. กลุ่มช่วงอายุ 31-50 ปี รวมทั้งสิ้น 23 คน ให้คะแนนเฉลี่ยความพอใจอยู่ที่ 4.11 (พอใจมาก) 3. กลุ่มช่วงอายุ 51 ปีขึ้นไป รวมทั้งสิ้น 16 คน ให้คะแนนเฉลี่ยความพอใจอยู่ที่ 4.23 (พอใจมาก) ผลปรากฏว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมดผ่านเกณฑ์และอยู่ในเกณฑ์สูงตามที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ คำแนะนำเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่างคือ ควรต่อยอดการออกแบบตามแนวคิดสโลว์ ดีไซน์นี้ ให้ครอบคลุมไปถึง กาน้ำชา และชุดน้ำชาด้วย เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่อยู่ในแนวคิดสโลว์ดีไซน์อย่างครบถ้วนตั้งแต่ใบชาที่ใช้ต้มไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ชงชา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8534 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58920295.pdf | 4.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น