กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/852
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุดารัตน์ สวนจิตร
dc.contributor.authorอภิรดี ปิลันธนภาคย์
dc.contributor.authorกุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:47Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:47Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/852
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของไคโตซานในการยับยั้งจุลินทรีย์ในระดับหลอดทดลองและในตัวอย่างน้ำพริกปรุงรส จุลินทรีย์ที่นำมาทดสอบในเบื้องต้นคือ Bacillus cereus ATCC 11778 และ Aspergillus flavus 05-21 ซึ่งเป็นราสายพันธุ์ที่สามารถสร้างอะฟลาทอกซิน จากการศึกษาพบว่าไคโตซานสามารถยับยั้ง B. cereus ATCC 11778 เมื่อทดสอบในอาหารเลี้ยงเชื้อและในน้ำเกลือ (0.85%) โดยเมื่อผสมไคโตซานความเข้มข้นต่าง ๆ (0.05-0.5%) ในอาหารเลี้ยงเชื้อ Trypticase agar (TSA) พบว่าสามารถยับยั้งการงอกของสปอร์ของแบคทีเรียชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ตามไคโตซานไม่สามารถทำลายสปอร์ของแบคทีเรียชนิดนี้ได้เมื่อทดสอบในน้ำเกลือในทางตรงกันข้ามไคโตซานมีผลต่อการรอดชีวิตของเซลล์ B. cereus ATCC 11778 ในน้ำเกลือ โดยพบว่าไคโตซานสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์ B. cereus ATCC 11778 ได้ทันทีภายหลังที่มีการใส่เซลล์ลงไปทดสอบ ซึ่งพบเซลล์ถูกยับยั้งได้ประมาณ 80.60+-4.50-99.89+-0.00% ในขณะเดียวกันเมื่อทดสอบประสิทธิภาพของไคโตซานในการยับยั้งการเจริญและการสร้างสารพิษอะฟลาทอกซินของ A. flavus 05-21 บนอาหารเลี้ยงเชื้อ coconut agar และอาหารเลี้ยงเชื้อ AFPA ที่มี การเติมไคโตซานความเข้มข้นต่าง ๆ พบว่าไคโตซานลดความสามารถในการมีชีวิตรอดของสปอร์รา รวมทั้งยับยั้งการเจริญของเส้นใย การงอกของสปอร์และความสามารถในการสร้างอะฟลาทอกซินของราสายพันธุ์ โดยพบว่ากิจกรรมการยับยั้งดังกล่าวมีผลเพิ่มมากขึ้นตามความเข้มข้นของไคโตซานที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อทดสอบความสามารถของไคโตซานในการยับยั้ง B.cereus ATCC 11778 และ A. flavus 05-21 ที่เติมลงในน้ำพริกเผาและน้ำพริกตาแเดง พบว่า การเติมไคโตซานไม่มีผลในการยับยั้งจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้ได้ นอกจากนี้ไคโตซานยังไม่สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ประจำถิ่น ได้แก่ กลุ่มแบคทีเรีย ยีสต์และรา ที่พบปนเปื้อนอยู่ในน้ำพริกปรุงรสดังกล่าวได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากความซับซ้อนของตัวอย่างน้ำพริก รวมถึงคุณสมบัติของไคโตซานเอง โดยเฉพาะความสามารถในการละลายและน้ำหนักโมเลกุล ดังนั้นจึงมีความน่าสนใจในการศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อนำไคโตซานมาประยุกต์ใช้เป็นสารกันเสียในน้ำพริกปรุงรสต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2548th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectไคโตแซน - - วิจัยth_TH
dc.subjectจุลินทรีย์th_TH
dc.subjectน้ำพริกth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
dc.titleประสิทธิภาพของไคโตซานในการยับยั้งจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์น้ำพริกปรุงรสth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsudarat@buu.ac.th
dc.author.emailapiradee@buu.ac.th
dc.author.emailkullaya@buu.ac.th
dc.year2548
dc.description.abstractalternativeThe antimicrobial activity of chitosan was evalusted in vitro as well as in chilli paste products. Bacillus cereus ATCC 11778 and the aflatoxigenic Aspergillus flavus 05-21 were selected as models for the preliminary experiments. Addition of chitosan at various concentrations (0.05-0.05%) into Trypticase soy agar (TSA) was demonstrated to be inhibitoryto bacterial spore germination. However, no lethal effect of chitosan on spore viability was observed. In contrast, chitosan was proved to be more effective against bacterial cells suspended in 0.85% normal saline, which were immediately inhibited by about 80.60+-4.50-99.89+-0.00% . On the other hand, the antifungal activity of chitosan against A. flavus 05-21 was observed. Chitosan was incorporated into either coconut agar medium or Aspergillus flavus and Aspergillus parasiticus agar (AFPA), and the growth as well as aflatoxin production by this fungal strain were assessed. It was found that chitosan significantly decreased fungal spore viability and also suppressed the radial growth, spore germination, and aflatoxin production of A. flavus 05-21. Such antifungal activities of chitosan were more pronounced at higher concentrations. However,the efficacies of chitosan supplemented into chili paste products against B. cereus ATCC 11778 and A. flavus 05-21, as well as indigenous microorganisms including bacteria, yeasts and filamentous fungi was obscured. This may be due to the complexity of food samples and the properties of chitosan itself, particularly its solubility and molecular weight. Therefore, optimization for the applicability of chitosan as a food preservative in chilli paste products was a real challengeen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น