กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8528
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากสี เพื่อนำมาสร้างผลงานจิตรกรรมที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกเฉพาะตน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of emotionl color to crete pinting for unique-emotion expression
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ
ปิติวรรธน์ สมไทย
จุนชิว, เฉียน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Junqiu, Qian
คำสำคัญ: ความรู้สึก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
สี -- แง่จิตวิทยา
สี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การถ่ายทอดอารมณ์ผ่านลักษณะทางสีสัน อารมณ์จากสีสันนั้นเป็นจิตวิญญาณภายในของมนุษย์และแน่นอนว่าไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้โดยง่าย เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นจากจิตใจภายใน เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ความรู้สึก ทั้งนี้จะต้องตั้งอยู่บนความชำนาญและต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสีแต่ละรูปแบบ สีจึงเป็นส่วนสำคัญในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกอย่างดีภายใต้อิทธิพลของ ความเชื่อและปัจจัยทางวัฒนธรรมทางสังคมที่ต่างกัน แสดงออกผ่านสีสันโดยการวาดภาพที่สามารถทำให้ผู้ชมนั้นเข้าถึงความรู้สึกที่ต้องการสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันก็มีความงดงามทางศิลปะและแฝงไปด้วยความหมาย เป็นการศึกษาเพื่อจับประเด็นหลัก ๆ 3 ประการ คือ 1. อิสรภาพของสี 2. ความสมดุลของความรู้สึกกับการสร้างสรรค์ศิลปะและ 3.ความสัมพันธ์ระหว่างสีกับอารมณ์ความรู้สึกและเหตุนี้จึงได้ใช้ประสบการณ์ใช้ชีวิตในประเทศไทยเป็นแรงบัลดาลใจในการสร้างผลงาน ซึ่งแบ่งเป็น 6 ช่วงอารมณ์ที่ต่างกัน ได้แก่ 1 ช่วงที่ตัวเอง ช่วงที่ 2 อยากรู้อยากเห็น ช่วงที่ 3 สงสัย ช่วงที่ 4 ตื่นตัว ช่วงที่ 5 ความรู้สึกที่สะเทือนอารมณ์ ช่วงที่ 6 กลับมาที่ตัวเองอีกครั้ง จาก 6 ช่วงอารมณ์ที่นั้นมีการเก็บรายละเอียดอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาอารมณ์จากเฉดสีของตัวเองในแต่ละช่วงและขั้นสุดท้าย นำโครงสร้างของภาพ สีและอารมณ์มาวิเคราะห์ลักษณะและถ่ายทอด ออกมาบนภาพวาดได้อย่างเหมาะสม แม้จะมีองค์ประกอบอื่นเช่นโครงสร้างภาพ แต่สีคือสิ่งสำคัญที่สุดในการสื่อถึงอารมณ์อย่างชัดเจนและหวังว่าจะทำให้ผู้ชมเข้าใจและสามารถรับรู้ถึงความหมายจากความสวยงามในผลงาน เข้าใจในแนวความคิดของผู้ที่ประสบความสำเร็จเข้าใจถึงภูมิปัญญาที่สามารถนำสีสันและอารมณ์มาผสมผสานเพื่อสร้างผลงาน และสามารถมีทิศทางของศิลปะทางอารมณ์ของตัวเองได้รวมถึงการใช้ทฤษฎีแบร์กซอง ในเรื่องของสัญชาตญาณ เป็นแรงบันดาลใจ ในการหาที่มาของความคิดที่เป็นนามธรรม และใช้วิธีมองภาพรวมผนวกกับความคิดส่วนตัว ถ่ายทอดออกมาทางศิลปะเพื่อให้สามารถมองเห็นถึงการสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นจากกระบวนการ ตั้งแต่แรกเริ่มจนจบเป็นเพียงแค่ช่วงอารมณ์ประเภทหนึ่งและสิ่งนี้เองที่เป็นทั้งหมดของการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์โดยผ่านทางผลงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8528
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56920626.pdf3.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น