กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8522
ชื่อเรื่อง: ผีล้านนา อำนาจไร้รูปสู่รูปลักษณ์ในงานทัศนศิลป์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The power of invisible lnn’s spirit being trnslted into visul rts imge
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ
ภรดี พันธุภากร
กนิษฐา พวงศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ทัศนศิลป์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยผีล้านนา อํานาจไร้รูปสู่รูปลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปลักษณ์ของผีล้านนาสําหรับบันทึกองค์ความรู้เป็นข้อมูลภาพ วิเคราะห์ข้อมูลและสังเคราะห์สู่รูปภาพที่แสดงถึงรูปลักษณ์ของผีล้านนาเพื่อสืบสานวัฒนธรรมผีล้านนาไม่ให้เลือนหายไปจากสังคมและนําไปสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ รูปลักษณ์ผีล้านนา ผลการวิจัยพบว่า รูปลักษณ์ผีล้านนานําไปสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ มีหลักการในการสร้างจินตภาพสมมติ คํานึงถึงด้านเนื้อหา ประกอบไปด้วย ทางด้านกายภาพ สามารถสรุปทางกายภาพของผีล้านนาได้ 3 รูปลักษณ์ คือ รูปลักษณ์มนุษย์ ได้แก่ ผีประเภทที่ 1 ผีที่มีลักษณะเป็นตัวแทนอํานาจของธรรมชาติผีประเภทที่ 2 ผีที่ให้ความคุ้มครองแก่มนุษย์ และผีประเภทที่ 3 ผีที่ให้ความคุ้มครองแก่สถานที่ทางกายภาพจะสื่อในรูปแบบมนุษย์ชาย หญิงล้านนา รูปลักษณ์อุปกรณ์ ได้แก่ ผีประเภทที่ 4 ผีที่ช่วยเหลือมนุษย์ในการรักษาพยาบาลและการพยากรณ์ โดยจะสื่อถึงผีในรูปแบบของใช้ล้านนา และรูปลักษณ์ผิดมนุษย์ ได้แก่ ผีประเภทที่ 5 ผีร้าย หรือผีที่ให้โทษแก่มนุษย์ เป็นการผสมผสานระหว่างรูปลักษณ์มนุษย์ร่วมกับสัตว์ ส่วนผีประเภทที่ 6 ผีที่เป็นการละเล่นเป็นการผสมผสานรูปลักษณ์ระหว่างมนุษย์กับอุปกรณ์ เพราะเป็นผีที่สิงอยู่ในตัวผู้เล่นการละเล่นเป็นกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีทางด้านบริบทของผีล้านนา คือ คุ้มครอง ปกป้อง เคารพบูชา เสี่ยงทาย ทํานายอันตราย ตักเตือน และสนุกสนาน สามัคคี ด้านสัญลักษณ์ สามารถระบุได้ 4 ประเด็นคือ ความเชื่อ ประเพณี การเคารพบรรพบุรุษ และกุศโลบายแฝง เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปกรรมให้เกิดจินตภาพสมมติ ปัจจัยสําคัญในการสื่อถึงสัญลักษณ์ คือ พิธีกรรม ได้แก่ อุปกรณ์ประดับฉากเครื่องเซ่นไหว้หอผี และปะรําพิธี สามารถแสดงถึงอํานาจไร้รูป โดยใช้เทคนิคการสร้างบรรยากาศจริงจากสิ่งที่สัมผัสได้สู่สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยบรรยากาศของพิธีกรรม ปะรําพิธี เครื่องเซ่นไหว้ ภาพพระบฏ ภาพลักษณ์ในรูปธรรมผ่านสื่อภาษาของศิลปะ โดยการใช้ทัศนะธาตุ เช่น เส้น สี น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นที่ว่าง เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบภาพลายเส้นทั้งหมด 45 ภาพ จากผีทั้งหมด 42 ตัว โดยบางตัว มี 2 ภาพ เนื่องจากบางตัวมีทั้งชาย และหญิง บางตัวมีทั้งแบบสาว และแบบแก่ รูปภาพทั้ง 45 นี้สามารถนําไปใช้ในการศึกษาต่อยอด เพื่อสืบสานวัฒนธรรมผีล้านนาไม่ให้เลือนหายไปจากสังคมได้ และเกิดความเข้าใจเรื่องผีล้านนาในเชิงรูปธรรมแก่บุคคลอื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยผีล้านนาจะนําไปสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะทั้ง 3 ชุด ได้แก่ ผลงานชุดปั๊บสาผีล้านนาผีโขนลําปาง และผู้เสียสละในพิธีกรรมเลี้ยงดง เป็นการสร้างสรรค์จากจินตนาการที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการศึกษาวิจัยเรื่องผีล้านนา อํานาจไร้รูปสู่รูปลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของผู้วิจัยใช้วัสดุเทคนิคต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณค่าของผลงานในการถ่ายทอดจินตนาการที่เปลี่ยนมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้วิจัย สร้างสรรค์เป็นผลงานทัศนศิลป์ นอกจากนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยยังสามารถเป็นฐานข้อมูลในการนําไปต่อยอดงานวิจัยต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8522
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810050.pdf158.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น