กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8517
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุดมศักดิ์ สาริบุตร | |
dc.contributor.advisor | เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง | |
dc.contributor.author | อาณัฏ ศิริพิชญ์ตระกูล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T03:45:04Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T03:45:04Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8517 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง เศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการออกแบบเชิงนิเวศ เศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการแปรรูปและการนําไปใช้ใหม่ของเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้จากอุตสาหกรรม การทดสอบการนําวัสดุ EVA และ PVC มาหาสัดส่วนการผสม เพื่อนําไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้จากอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาผ่านการประเมินการรับรู้ต่อผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้ ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนากระบวนการแปรรูปและการนําไปใช้ใหม่ของเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้ในอุตสาหกรรม โดยศึกษากระบวนการนํากลับไปใช้ใหม่ของวัสดุทั้ง 2 ประเภท และการนําวัสดุทั้ง 2 ประเภทมาผสมกันและขึ้นรูป ตามอัตราส่วนที่กําหนด 9 อัตราส่วนผลปรากฏว่าสามารถขึ้นรูปทรงเป็นแผ่นได้ การทดสอบการนําวัสดุ EVA และ PVC มาหาสัดส่วนการผสมเพื่อนําไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัยได้ทําการทดสอบทางกายภาพของวัสดุที่ขึ้นรูปจาก EVA และ PVC ตามอัตราส่วนที่กําหนด รวมถึงความเหมาะสมของวัสดุกับการนําไปใช้ในด้านการออกแบบ ซึ่งจากการทดสอบทาง กายภาพ ตามมาตรฐาน ASTM เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้จากอุตสาหกรรม โดยการนําอัตราส่วน PVC 20% : EVA 80% พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภท เฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากกายภาพ มีค่าความแข็งของวัสดุที่สูง ทนต่อค่าแรงดึงและแรงฉีกขาดที่สูงอัตราส่วน PVC 60% : EVA 40% พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอวัยวะเทียมเนื่องจากกายภาพมีความยืดหยุ่นปานกลาง และมีค่าความแข็งที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ มีค่าการทนต่อแรงดึงและแรงฉีกขาดที่เหมาะสมและอัตราส่วน PVC 30% : EVA 70% พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทวัสดุตกแต่งทางสถาปัตยกรรม เนื่องจาก กายภาพสามารถอัดลายบนแม่พิมพ์ได้และมีค่าความแข็งที่สูงปานกลาง ทนต่อแรงดึงและแรงฉีกขาดที่สูง ปานกลาง ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาผ่านการประเมินการรับรู้ต่อผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้ พบว่า ความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างมีการประเมินการรับรู้ต่อเฟอร์นิเจอร์จากเศษ EVA และ PVC ปรากฏว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 ซึ่งการประเมินการรับรู้ต่อเฟอร์นิเจอร์จากเศษ EVA และ PVC อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ความคิดเห็นในการทดสอบอวัยวะเทียมประเภทเทียม ผู้วิจัยได้ทําการทดสอบและสัมภาษณ์ผู้ทดสอบในประเด็นของ ประโยชน์ใช้สอย การใช้งานและความปลอดภัย ซึ่งผู้ทดสอบให้ระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก และความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างมีการประเมินการรับรู้ต่อวัสดุตกแต่งทางสถาปัตยกรรมจากเศษ EVA และ PVC ปรากฏว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 ซึ่งการประเมินการรับรู้ต่อวัสดุตกแต่งทางสถาปัตยกรรมจากเศษ EVA และ PVC อยู่ในระดับเหมาะสมมาก | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.subject | การนำกลับมาใช้ใหม่ | |
dc.title | เศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจ | |
dc.title.alternative | Ev nd pvc wste mterils in the industsy to the product eco-design | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Research of the waste of EVA and PVC in the industry for eco-designaims1) To study and develop the processing and reuse of EVA and PVC waste from the industry. 2) To test of EVA and PVC for mixing ratio for product development. 3) To design and develop new products from EVA scrap and PVC waste from the industry. 4) The product has been developed through appraisal awareness of the products of EVA and PVC waste. The results showed that 1) the development, processing and reuse of wastes of EVA and PVC waste in the industrycan form a sheet by studying the recycling process of both types of materials and mixing these materials based on the ratio of 9 ratio.2) Testing of EVA and PVC for mixing ratio for product development: the researchers tested the physical properties of materials formed from EVA and PVC in a given ratioincluding the suitability of the material and its application in the field of designbased on the American Society for Testingand Materials (ASTM) 3) physical testing for the design and development of new EVA scrap products and PVC waste from the industry were produced by adopting PVC ratio of 20%: EVA 80%, high hardness of materials. High tear and tear resistance, PVC 60%: EVA 40%. Development of prosthetic products due to their medium resilience and flexibilityhas a suitable hardness value for the product Good tear and tear resistance and PVC ratio of 30%: EVA 70%. Due to physical properties, molds can be molded and molded with high hardness medium, high tensile and tear resistance. 4) The product has been developed through appraisal awareness and it was found that EVA and PVC had a perception of EVA and PVC furniture. The average value was 3.88. The EVA and PVC fragments are in very reasonable levels. The researcher tested and interviewed the testers on the usefulness, usage and safety issues. The testers gave the appropriate level of appropriateness and the samples' opinions were evaluated. EVA and PVC showed an average of 3.89. EVA and PVC chip architecture from the high level. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
54810099.pdf | 77.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น