กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8511
ชื่อเรื่อง: "รสชาติแห่งบ้านเกิด"สารคดีสั้นเพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของอาหารว่างยูนนาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: “Tste of home”: documentry is unique trditionl snck culture in yunnn
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญชู บุญลิขิตศิริ
ภรดี พันธุภากร
ฮงจุน, ลิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
อาหารว่าง -- จีน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของอาหารว่างยูนนาน 3 ประเภทคือ อาหารว่างประเภทเส้นก๋วยเตี๋ยว แผ่นแป้ง และเต้าหู้เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาสร้างสรรค์เป็นผลงานสารคดีสั้นที่มีเนื้อหาสำคัญมาจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ 4 ท่าน เกี่ยวกับภูมิหลัง ประสบการณ์ และการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของอาหารว่างยูนนานเรื่อง “รสชาติแห่งบ้านเกิด” ผลการศึกษาพบว่า มณฑลยูนนานเป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และเป็นถิ่นอาศัยของชนกลุ่มน้อยจำนวน 26 ชนชาติ ทำให้อาหารยูนนานมีรสชาติที่โดดเด่นจากการผสมผสานข้ามวัฒนธรรม โดยอาหารประเภท “อาหารว่าง” เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นอาหารที่หากินได้ง่าย วัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารว่างคือ ผักสด เนื้อสัตว์และเครื่องปรุงรสตาม เอกลักษณ์ท้องถิ่นทำให้มีความสดใหม่ มีกลิ่นหอม มีรสชาติเปรี้ยวเผ็ดและมีความจัดจ้านมากกว่า อาหารจีนในมณฑลอื่น ๆ โดยเฉพาะอาหารว่างในเมืองคุนหมิงและในอำเภอเจี้ยนสุ่ย 6 ชนิด ได้แก่ แป้งแผ่นกวนตู้ ก๊วยเตี๋ยวถั่วเหลือง ก๊วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ช่วยกองทัพ ก๋วยเตี๋ยวหมูลวก ก๋วยเตี๋ยวข้าม สะพานและเต้าหู้ย่าง จนนำมาสู่การสร้างสรรค์ผลงานชุด “รสชาติแห่งบ้านเกิด: สารคดีสั้นเพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของอาหารว่างยูนนาน” ทั้งนี้ จากการประเมินผลความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานสารคดีสั้นในครั้งนี้ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คนเห็นว่า สารคดีสั้นเรื่อง “รสชาติ แห่งบ้านเกิด” ใช้เทคนิคในการถ่ายทำ มีเนื้อหาสารคดีและประโยชน์ที่แฝงอยู่เป็นอย่างมากซึ่ง สามารถถ่ายทอดความรู้สึกและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารว่างยูนนานได้อย่างน่าติดตาม ทั้งนี้จากการสอบถามความคิดเห็นในกลุ่มผู้ชมที่เป็นนักเรียนระดับปริญญาตรี พบว่า สารคดีเรื่องนี้ สามารถดึงดูดให้กลุ่มทดลองมีความต้องการเข้ามารับชมได้เป็นอย่างดี สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ และเข้าใจประวัติศาสตร์ ความเป็นมาและวิธีการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมของอาหารว่างได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด อันทำให้สามารถดึงดูดให้คนรุ่นหลัง นักท่องเที่ยวและเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงคุณค่า คุณประโยชน์ และความสำคัญของสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในอาหารว่างยูนนานให้ยังคงได้รับการสืบทอด ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์สืบไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8511
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57920306.pdf10.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น