กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/846
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับผลิตภัณฑ์ OTOP โดยใช้เทคนิคการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์
คำสำคัญ: การตลาด
การลงทุน
ธุรกิจชุมชน
ผลิตภัณฑ์เกษตร
สาขาเศรษฐศาสตร์
สินค้าไทย - - การตลาด
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ - - การจัดการ - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การที่ผู้ประกอบการ OTOP ในชุมชนสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้าเพียงอย่างเดียวหรือแม้แต่มีการจัดการด้านการตลาดที่ดีก็อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้สินค้าในชุมชนสามารถที่จะแข่งขันกับสินค้าของคู่แข่งขันทั้งภายในและต่างประเทศได้ ผู้ประกอบการ OTOP ควรตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการประยุกต์ใช้หลักการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือเพื่อตรวจสอบประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำเอาโลจิสติกส์เข้ามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ OTOP รวมทั้งขยายอวค์ความรู้ด้านการนำเอาระบบโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกระบวนการผลิตและจัดส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุตยิภูมิ โดยสุ่มแจกแบบสอบถาม 170 ชุด แก่ผู้ประกอบการ OTOP ระดับสามถึงห้าดาวทั่วประเทศรวมทั้งมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากทั้งผู้ประกอบการและหน่วยงานราชการ อย่างไรก็ตามมีการตอบกลับ จำนวน 140 ชุด คิดเป็นอัตราการตอบกลับเท่ากับ 88.3 เปอร์เซ็นต์ โดยนำข้อมูลมาประมวลผล โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางถึงสูงมากระหว่างการประยุกต์ใช้โลจิสติกส์ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ OTOP และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า/วัตถุดิบและการส่งผ่านข้อมูลมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งต่อการนำเอาระบบโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ การศึกษานำมาสู่ข้อสรุปที่ว่าการพัฒนากลยุทธ์โลจิสติกส์ที่ดีและเหมาะสมควรจะช่วยผู้ประกอบการ OTOP ในการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันอย่างยั่งยืนเช่น การรวมตัวของผู้ประกอบการในการสั่งซื้อวัตถุดิบ ใช้ยานพาหนะร่วมกันก็จะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองและลดต้นทุนได้ เป็นต้น ขณะที่หน่วยงานของรัฐถือว่ามีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะกระตุ้นและจูงใจให้ผู้ประกอบการ OTOP ได้มีการประยุกต์ใช้เทคนิคและกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์เพิ่มมากขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/846
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น